วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕ มหาชนกชาดก พราหมณ์อุทิจจ์ รับอุปการะพระเทวีเป็นน้องบุญธรรม

พราหมณ์อุทิจจ์ ผู้เป็นอาจารย์ทิสาปาโมกข์
รับอุปการะพระเทวีเป็นน้องบุญธรรม

เทวีปิ เอกิกาว สาลายํ นิสีทิฯ ตสฺมิํ ขเณ เอโก ทิสาปาโมกฺโข อาจริโย กาลจมฺปานครวาสี มนฺตชฺฌายโก พฺราหฺมโณ ปญฺจหิ มาณวกสเตหิ ปริวุโต นฺหานตฺถาย คจฺฉนฺโต ทูรโตว    โอโลเกตฺวา ตํ อภิรูปํ โสภคฺคปฺปตฺตํ ตตฺถ นิสินฺนํ ทิสฺวา ตสฺสา กุจฺฉิยํ มหาสตฺตสฺสานุภาเวน สห ทสฺสเนเนว กนิฏฺฐภคินิสิเนหํ อุปฺปาเทตฺวา มาณวเก พหิ ฐเปตฺวา เอกโกว สาลํ ปวิสิตฺวา ‘‘ภคินิ, กตรคามวาสิกา ตฺว’’นฺติ ปุจฺฉิฯ ‘‘ตาต, มิถิลายํ อริฏฺฐชนกรญฺโญ อคฺคมเหสีมฺหี’’ติฯ ‘‘อมฺม, อิธ กสฺมา อาคตาสี’’ติ? ‘‘ตาต, โปลชนเกน ราชา มาริโต, อถาหํ ภีตา คพฺภํ  อนุรกฺขิสฺสามีติ อาคตา’’ติฯ ‘‘อมฺม, อิมสฺมิํ ปน เต นคเร โกจิ ญาตโก อตฺถี’’ติ? ‘‘นตฺถิ,  ตาตา’’ติฯ เตน หิ มา จินฺตยิ, อหํ อุทิจฺจพฺราหฺมโณ มหาสาโล ทิสาปาโมกฺขอาจริโย, อหํ ตํ  ภคินิฏฺฐาเน ฐเปตฺวา ปฏิชคฺคิสฺสามิ, ตฺวํ ‘‘ภาติกา’’ติ มํ วตฺวา ปาเทสุ คเหตฺวา ปริเทวาติฯ สา มหาสทฺทํ กตฺวา ตสฺส ปาเทสุ คเหตฺวา ปริเทวิฯ เต ทฺเวปิ อญฺญมญฺญํ ปริเทวิํสุฯ
เทวีปิ แม้พระเทวี เอกิกาว ทรงเป็นผู้พระองค์เดียวเทียว หุตฺวา เป็น นิสีทิ ประทับนั่งแล้ว สาลายํ ในศาลา. ตสฺมึ ขเณ ในขณะนั้น พฺราหฺมโณ พราหมณ์ กาลจมฺปานครวาสี ผู้อยู่ในเมืองกาลจัมปาโดยปกติ เอโก คนหนึ่ง อาจริโย เป็นอาจารย์ ทิสาปาโมกฺโข ผู้ทิสาปาโมกข์[1] มนฺตชฺฌายโก เป็นผู้สอนมนต์ หุตฺวา เป็น มาณวกสเตหิ อันร้อยแห่งมาณพท. ปญฺจ ห้า ปริวุโต แวดล้อมแล้ว คจฺฉนฺโต ไปอยู่ นฺหานตฺถาย เพื่ออันอาบ โอโลเกตฺวา แลดูแล้ว ทูรโตว แต่ที่ใกล้เทียว ทิสฺวา เห็นแล้ว ตํ ซึ่งพระเทวี อภิรูปํ มีพระรูปงดงาม โสภคฺคปฺปตฺตํ ผู้ทรงถึงแล้วซึ่งส่วนคืออวัยวะอันงาม นิสินฺนํ ผู้ประทับนั่งแล้ว ตตฺถ ในศาลานั้น กนิฏฺฐภคินิสิเนหํ ยังความรักดังน้องสาวคนเล็ก อุปฺปาเทตฺวา ให้เกิดขึ้นแล้ว สห พร้อม ทสฺสเนน เอว ด้วยการเห็นนั่นเทียว มหาสตฺตสฺส อานุภาเวน ด้วยอานุภาพ แห่งพระมหาสัตว์ กุจฺฉิยํ ในท้อง ตสฺสา แห่งพระเทวีนั้น ฐเปตฺวา พักไว้แล้ว มาณวเก ซึ่งมานพท. พหิ ไว้ในภายนอก เอกโกว เป็นผู้ดียว เทียว หุตฺวา เป็น ปวิสิตฺวา เข้าไปแล้ว สาลํ สู่ศาลา ปุจฺฉิ ถามแล้ว อิติ ว่า ภคินิ ดูก่อนน้องหญิง ตฺวํ เธอ กตรคามวาสิกา เป็นผู้อยู่ในหมู่บ้านไหน อสิ ย่อมเป็น ดังนี้. เทวี พระเทวี อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า ตาต ข้าแต่พ่อ อหํ ดิฉัน อคฺคมเหสี เป็นพระมเหสีผู้เลิศ อริฏฺฐชนกรญฺโญ ของพระราชาทรงพระนามว่า อริฏฐชนก มิถิลายํ ในเมืองมิถิลา อมฺหิ ย่อมเป็น ดังนี้. พฺราหฺมโณ พราหมณ์ ปุจฺฉิ ถามแล้ว อิติ ว่า อมฺม แนะแม่ ตฺวํ เธอ อาคตา เป็นผู้มาแล้ว อิธ ในที่นี้ กสฺมา เพราะเหตุไร อสิ ย่อมเป็น ดังนี้. สา เทวี พระเทวีนั้น อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า ตาต ข้าแต่พ่อ ราชา พระราชา โปลชนเกน อันพระโปลชนก มาริโต ให้ตายแล้ว, อถ ต่อจากนั้น อหํ ดิฉัน ภีตา กลัวแล้ว อาคตา มาแล้ว อาสาย ด้วยความหวัง อิติ ว่า อหํ เรา อนุรกฺขิสฺสามิ จักรักษา คพฺภํ ซึ่งสัตว์ผู้เกิดแล้วในครรภ์ ดังนี้ ดังนี้. พฺราหฺมโณ พราหมณ์ อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า อมฺม แนะแม่ ปน ก็ โกจิ บุคคลไรๆ ญาตโก ผู้เป็นญาติ ตว ของเธอ อิมสฺมึ นคเร ในพระนครนี้ อตฺถิ มีอยู่ หรือ ดังนี้. เทวี พระเทวี ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตาต ข้าแต่พ่อ โกจิ บุคคลไรๆ ญาตโก ผู้เป็นญาติ นตฺถิ ย่อมไม่มี ดังนี้. พฺราหฺมโณ พราหมณ์ อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตฺวํ เธอ มา จินฺตยิ อย่าคิดแล้ว, อหํ เรา อุทฺทิจฺจพฺราหฺมโณ ผู้เป็นพราหมณ์ชื่อว่าอุททิจจะ มหาสาโล มีทรัพย์มาก  ทิสาปาโมกฺขอาจริโย เป็นอาจารย์ผู้ทิสาปาโมกข์ อสฺมิ ย่อมเป็น, อหํ ข้าพเจ้า ฐเปตฺวา ตั้งไว้แล้ว ตํ ซึ่งเธอ ภคินิฏฺฐาเน ในตำแหน่งแห่งน้องสาว ปฏิชคฺคิสฺสามิ จักดูแล. ตฺวํ เธอ วตฺวา จงเรียกแล้ว มํ ซึ่งเรา อิติ ว่า ภาติโก พี่ชาย, คเหตฺวา จับแล้ว ปาเทสุ ที่เท้าท. ปริเทวาหิ จงคร่ำครวญเถิด ดังนี้, สา พระเทวี สมฺปฏิจฺฉิตฺวา รับพร้อมแล้ว อิติ ว่า สาธุ ดีละ ดังนี้ กตฺวา กระทำแล้ว มหาสทฺทํ ซึ่งเสียงดัง คเหตฺวา จับแล้ว ปาเทสุ ที่เท้าท. ตสฺส ของพราหมณ์นั้น ปริเทวิ คร่ำครวญแล้ว. เต เทฺวปิ พราหมณ์และพระเทวีท.แม้สอง ปริเทวึสุ คร่ำครวญแล้ว อญฺญมญฺญํ ซึ่งกันและกัน.

ภาพประกอบจากอินเทอร์เนท






[1] สพฺพทิสาสุ วิทิโต ปากโฏ, ปธาโน วาติ อตฺโถ, อาจารย์ผู้อันใครๆ ในทิศทั้งปวงรู้จักแล้ว คือ ปรากฏแล้ว ได้แก่ เป็นประธาน ปณฺฑิตภาเวน สพฺพทิสาสุ ปมุขภูโต, ปธาโน วา (ม.ฎี ๑/๑๑๗, ) ทิสานํ , ทิสาสุ วา ปาโมกฺโข ปธาโนติ ทิสาปาโมกฺโข, เอตฺถ จ ทิสาสทฺเทน ทิสฏฺฐา วุตฺตา. ผู้ปรากฏแล้วในทิศทั้งหลายโดยความเป็นบัณฑิต อาจารย์ผู้เป็นประธานแห่งอาจารย์ผู้ตั้งอยู่ในทิศทั้งหลาย ชื่อว่า ทิสาปาโมกข์. ทิสา ศัพท์ในที่นี้ มีความหมายเท่ากับ ทิสฏฺฐา อาจารย์ผู้ดำรงอยู่ในทิศทั้งหลาย (ชาตกฎีกา ๑/๓๑ ฉบับพม่า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น