๘.
มนสิการลกฺขณปฃฺโห
|
๘. โยนิโสมนสิการปฃฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
|
‘‘อูหนลกฺขโณ โข, มหาราช, มนสิกาโร, เฉทนลกฺขณา ปญฺญา’’ติฯ
‘‘กถํ อูหนลกฺขโณ
มนสิกาโร, กถํ เฉทน -ลกฺขณา ปญฺญา, โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
‘‘ชานาสิ, ตฺวํ มหาราช, ยวลาวเก’’ติฯ
‘‘กถํ, มหาราช, ยวลาวกา ยวํ ลุนนฺตี’’ติ?
‘‘วาเมน, ภนฺเต, หตฺเถน ยวกลาปํ คเหตฺวา ทกฺขิเณน หตฺเถน ทาตฺตํ คเหตฺวา
ทาตฺเตน ฉินฺทนฺตี’’ติฯ
‘‘ยถา, มหาราช ยวลาวโก วาเมน หตฺเถน ยวกลาปํ คเหตฺวา ทกฺขิเณน หตฺเถ ทาตฺตํ คเหตฺวา
ยวํ ฉินฺทติ,
เอวเมว
โข, มหาราช, โยคาวจโร มนสิ- กาเรน
มานสํ คเหตฺวา
ปญฺญาย กิเลเส ฉินฺทติ,
เอวํ โข,
มหาราช,
อูหนลกฺขโณ มนสิกาโร, เอวํ เฉทนลกฺขณา
ปญฺญา’’ติฯ
‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
มนสิการลกฺขณปญฺโห อฏฺฐโมฯ |
๘.
ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ผู้เจริญ, มนสิกาโร อ.มนสิการ กึลกฺขโณ มีอะไรเป็นลักษณะ, ปฃฺฃา อ.ปัญญา กึลกฺขณา
มีอะไรเป็นลักษณะ” ดังนี้.[๑]
เถโร
อ.พระเถระ
อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มนสิกาโร อ.มนสิการ อูหน-ลกฺขโณ
มีการจับไว้เป็นลักษณะ, ปฃฺฃา อ.ปัญญา เฉทนลกฺขณา
มีการตัดเป็นลักษณะ โข แล”
ดังนี้[๒].
ราชา
อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า มนสิกาโร อ.มนสิการ อูหนลกฺขโณ
มีการจับไว้เป็นลักษณะ กถํ เป็นอย่างไร, ปฃฺฃา อ.ปัญญา เฉทนลกฺขณา
มีการตัดเป็นลักษณะ กถํ เป็นอย่างไร, ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ
ขอจงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการเปรียบเทียบ” ดังนี้.[๓]
เถโร
อ.พระเถระ
อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตฺวํ
อ.ท่าน ชานาสิ ย่อมทรงรู้จัก ยวลาวเก ซึ่งชนผู้เกี่ยวข้าวท. หรือไม่?” ดังนี้[๔]
ราชา
อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อาม ใช่ อหํ อ.ข้าพเจ้า
ชานามิ ย่อมรู้จัก” ดังนี้.
เถโร
อ.พระเถระ
อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ยวลาวกา
อ.ชนผู้เกี่ยวซึ่งข้าวท. ลุนนฺติ ย่อมเกี่ยว ยวํ ซึ่งข้าว กถํ
อย่างไร?” ดังนี้.
ราชา
อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต ข้าแต่ผู้เจริญ ยวลาวกา อ.ชนผู้เกี่ยวซึ่งข้าวท. คเหตฺวา จับแล้ว ยวกลาปํ ซึ่งกำแห่งข้าว หตฺเถน
ด้วยมือ วาเมน ข้างซ้าย คเหตฺวา
จับแล้ว ทาตฺตํ ซึ่งเคียว หตฺเถน ด้วยมือ ทกฺขิเณน ข้างขวา
ฉินฺทนฺติ ย่อมตัด” ดังนี้.
เถโร
อ.พระเถระ
อาห ถวายพระพรแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ยวลาวกา
อ.ชนผู้เกี่ยวซึ่งข้าวท. คเหตฺวา
จับแล้ว ยวกลาปํ ซึ่งกำแห่งข้าว หตฺเถน ด้วยมือ วาเมน
ข้างซ้าย คเหตฺวา จับแล้ว ทาตฺตํ ซึ่งเคียว หตฺเถน ด้วยมือ
ทกฺขิเณน ข้างขวา ฉินฺทนฺติ ตัดอยู่ ยถา ฉันใด,
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร
อ.พระโยคาวจร คเหตฺวา จับแล้ว มานสํ ซึ่งจิต มนสิกาเรน ด้วยมนสิการ ฉินฺทติ
ย่อมตัด กิเลเส ซึ่งกิเลสท. ปฃฺฃาย
ด้วยปัญญา เอวํ ฉันนั้นเอว นั่นเทียว โข แล. [๕]
มหาราช
ขอถวายพระพร มหาบพิตร มนสิกาโร อ.มนสิการ
อูหนลกฺขณา มีการจับไว้เป็นลักษณะ
เอวํ อย่างนี้, ปฃฺฃา อ.ปัญญา เฉทนลกฺขณา มีการตัดเป็นลักษณะ เอวํ อย่างนี้ โข แล” ดังนี้.
ราชา
อ.พระราชา อาห ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้สามารถแก้ปัญหา อสิ
ย่อมเป็น” ดังนี้.
|
มนสิการลกฺขณปฃฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
อฏฺฅโม ที่
๘ นิฏฺฅิตํ จบแล้ว.
|
**********
[๑] พระเจ้ามิลินท์ครั้นได้ทราบแล้วว่า
มนสิการและปัญญาเป็นธรรมคนละประเภทกัน
จึงตั้งปัญหานี้ขึ้นเพื่อให้พระเถระอธิบายลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ)
ของมนสิการและปัญญาที่ต่างกัน. พระนาคเสนเถระได้วิสัชชนาว่า ที่แท้มนสิการ นั้นเป็นสภาวธรรมที่จับจิตเป็นต้นไว้กับอารมณ์
เพื่อที่จะให้ปัญญาสามารถตัดกิเลสอันอาศัยอารมณ์นั้นได้
ซึ่งมีอุปมาดังได้วิสัชนาต่อไป.
[๒] อูหนลกฺขโณ
มีการจับไว้เป็นลักษณะ แปลโดยอิงคำอธิบายของพระเถระเองว่า “มนสิกาเรน มานสํ คเหตฺวา จับจิตไว้ด้วยมนสิการ”
และคำไขความจากอธิบายจากอรรถกถาและฏีกาของคัมภีร์นี้ว่า “คหณลกฺขโณ
มีการจับไว้เป็นลักษณะ”. จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามิลินทปัญหาว่า
"การน้อมนึกอันเป็นลักษณะของวิตก ย่อมยกจิตเข้าไว้ในอารมณ์ ฉันใด, การน้อมนึก
อันเป็นลักษณะของมนสิการ จะยกจิตเข้าไว้ในอารมณ์ฉันนั้นก็หามิได้, แท้แล้ว
พระโยคาวจร ใช้มนสิการจับเอาจิตที่เป็นสภาวธรรมรู้อารมณ์แล้ว ใช้วิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาตัด
กล่าวคือ ละกิเลสทั้งหลาย ในจิตนั้นนั่นแหละ ไปตามลำดับ".
ส่วนคัมภีร์มธุรัตถปกาสินี
ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายมิลินทปัญหาอีกคัมภีร์หนึ่งได้อรรถาธิบายว่า "อูหนลกฺขโณ’ติ สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนวเสน อุสฺสหนลกฺขโณ คณฺหนลกฺขโณ วาฯ มนสิการมีการน้อมนึกเป็นลักษณะ หมายถึง มีการยกขึ้นหรือจับเป็นลักษณะโดยเกี่ยวกับการผูกมัดสัมปยุตธรรมไว้ที่อารมณ์."
รวมความได้ว่า
มนสิการเป็นสภาวธรรมที่ประคองจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมไว้ให้ผูกติดกับอารมณ์
เพื่อให้ปัญญาได้ทำหน้าที่ละกิเลส. โดยต่างกับวิตกที่มีการน้อมนึกเหมือนกัน
แต่การน้อมนึกของวิตกเป็นการพาจิตเข้าไปในอารมณ์เท่านั้น,
ส่วนมนสิการทำหน้าที่ช่วยเหลือแก่กุศล
โดยจับจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมให้ดำเนินตรงต่อกุศลอันเป็นธรรมที่ละอกุศล
ซึ่งโดยเจาะจงในที่นี้ได้แก่ปัญญา. ควรศึกษามนสิการโดยละเอียดในมนสิการเจตสิก.
โดยนัยแห่งการปฏิบัติ,
เมื่อพระโยคาวจรใส่ใจพิจารณาต่ออารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยเกี่ยวกับเป็นนามรูปบ้าง โดยความเป็นทุกข์เป็นต้นบ้าง ตามคำสอนจากกัลยาณมิตร,
ไม่ส่งจิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอกแล้วประคองจิตในกรรมฐานนั้นติดต่อกันเรื่อยไป
ในไม่ช้าก็จะเกิดวิปัสสนาปัญญาเล็งเห็นอารมณ์เหล่านั้นตามความเป็นจริงจนกระทั่งเกิดมรรคปัญญาทำลายกิเลสภายในจิตจนหมดสิ้นในที่สุด.
[๓] พระเจ้ามิลินท์
ทรงดำริว่า สภาวธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้ง เห็นความต่างกันได้ยาก จึงขอให้พระเถระนำอุปมาที่ปรากฏชัดหรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาแสดง
เพื่อให้เห็นความต่างกันระหว่างมนสิการและปัญญาได้อย่างชัดเจน. เรื่องการอุปมานี้
มีอรรถาธิบายโดยสังเขปดังนี้
โอปมฺม, อุปมาน, อุปมา
สามศัพท์นี้แปลว่า ข้อเปรียบเทียบ หรือ การเปรียบเทียบ ได้แก่
ความมีสภาพเสมอกันระหว่างสิ่งที่ยกมาเปรียบ และ สิ่งที่ถูกเปรียบ. (โอปมฺม มุปมานํ
จุ, ปมา. -
ธาน. ๕๓๐, อุปมาโนปเมยฺยานํ, สธมฺมตฺตํ- สุโพธ.) ซึ่งก็หมายความว่า
เป็นการนำเอาวัตถุอีกอย่างหนึ่งมาเปรียบกับวัตถุอีกอย่างหนึ่ง
เพื่อช่วยให้เห็นลักษณะของวัตถุที่ถูกเปรียบได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่เปรียบนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว
จะช่วยให้เห็นลักษณะของสิ่งที่ถูกเปรียบซึ่งรู้ได้ยากนั้นได้รู้ง่ายขึ้น. (โดยนัยนี้อุปมาเป็นต้น คือ อุปเมตพฺพาการ
อาการที่ควรเปรียบ อุป + มาน เปรียบเทียบ)
ข้อความอุปมาจะต้องไม่ถูกถือเอาไว้โดยตรงแน่นอน
แต่เป็นไปใกล้เคียงกับข้อความที่จะถูกอุปมา. โดยนัยนี้ อุปมา คือ
ลักษณะที่ใกล้เคียงของอุปมากับลักษณะของข้อความที่ถูกเปรียบ (อุป ใกล้ + มาน
สิ่งที่ถูกเปรียบ).
ตัวอย่างเช่น
สีโห วิย ภควา (พระผู้มีพระภาคทรงเปรียบดังราชสีห์) ในเรื่องนี้ ราชสีห์เป็นอุปมา
พระผู้มีพระภาคเป็นอุปไมย เพราะเป็นผู้ที่ควรเปรียบด้วยเดชและความเพียรเป็นต้น
ส่วนเดชและความเพียรเป็นต้น เป็นอุปเมตัพพาการหรืออาการที่ควรเปรียบ.
ในตัวอย่างนี้ พึงสังเกตว่า ประโยคที่แสดงการอุปมา
จะมีส่วนสำคัญอยู่ ๔ ประการคือ
๑)
อุปมา สิ่งที่ยกมาเปรียบ ได้แก่ สีโห ราชสีห์
(ในที่นี้ไม่ใช่การเปรียบดังที่แสดงไว้ก่อน)
๒)
อุปไมยะ สิ่งที่ถูกเปรียบ ได้แก่ ภควา พระผู้มีพระภาค
๓)
อุปมานะหรือโอปมฺม ความเหมือนกันของอุปมาและอุปไมยะ ได้แก่ เดชและความเพียร
๔)
อุปมาโชตกะ บทนิบาตเป็นต้นที่แสดงความเปรียบเช่น อิว, วิย เพียงดัง เป็นต้น ได้แก่
วิย.
โอปมฺม มาจาก อุป + มา มาน การนับ มนฺ
กรณสาธนะ ,
วิ. อุปมียเต
เอเตนาติ โอปมฺมํ.
สภาวธรรมอันบุคคลย่อมเปรียบด้วยข้อความนี้
เหตุนั้น ข้อความนี้ ชื่อว่า โอปมฺม.
อุปมา
มาจาก อุป + มา ปริมาน นับ + อปัจจัย กรณสาธนะ + อา อิตถีโชตกปัจจัย
วิ.อุปมียเต
สทิสีกรียติ เอเตนาติ อุปมา สภาวธรรมอันบุคคลย่อมกระทำให้เหมือนกันด้วยข้อความนี้
เหตุนั้น ข้อความนี้ชื่อว่า อุปมา ข้อเปรียบ
อุปมาน
มาจาก อุป + มา ปริมาณ กำหนดนับ + ยุ ปัจจัย ภาวสาธนะ
วิ.
อุปมียเต อุปมานํ, อุปเมตพฺพากาโร. (นีติ.ธาตุ) การอุปมา ชื่อ อุปมานะ ได้แก่
อาการที่ควรเปรียบ
ในบรรดาศัพท์มีโอปมฺมเป็นต้นนั้น
พระเจ้ามิลินท์อาราธนาพระเถระให้กระทำอุปมาคือนำสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับลักษณะของโยนิโสมนสิการและปัญญามาอธิบาย
ด้วยคำว่า โอปมฺม.
[๔] ยวลาวก
มาจาก ยว ข้าว + ลาวก ผู้เกี่ยว (ลุ + ณฺวุ กัตตุสาธนะ) จัดเป็นบทสมาสประเภทกิตันตทุติยาตัปปุริสสมาส
ทุติยาตัปปุริสสสมาสที่มีบทกิตเป็นที่สุด. โดยทั่วไป กิตันตสมาสนี้
จะถูกใช้ในกรณีที่บทกิตนั้นไม่สามารถให้สำเร็จเนื้อความได้โดยสมบูรณ์ถ้าไม่มีบทกรรมเป็นต้นมาประกอบ
ตัวอย่าง กุมฺภกาโร ผู้กระทำซึ่งหม้อ ถ้าให้ กาโร ผู้กระทำ เป็นบทกิตลำพัง
ก็ไม่สามารถบอกความได้ชัดว่า ผู้กระทำอะไร ดังนั้น ท่านจึงต้องเพิ่ม กุมภ
หม้อเข้ามาเพื่อทำบทกิตนั้นให้สมบูรณ์ จึงจัดเป็นบทสมาสพิเศษ. สำหรับในคำว่า
ยวลาวก นี้ คำว่า ลาวก แปลว่า ผู้ตัดหรือเกี่ยว ท่านจึงเพิ่ม ยว ข้าว
เข้ามาเป็นบทสมาสเพื่อทำให้บทกิตนั้นสื่อความได้สมบูรณ์โดยนัยเดียวกับคำว่า
กุมฺภกาโร.
มือซ้ายที่จับข้าว และเคียวที่เกี่ยวข้าว ก็ดี
คนเกี่ยวข้าวก็ดี ข้าวก็ดี เป็นอุปมา เพราะเป็นสิ่งที่นำมาเปรียบ,
โยนิโสมนสิการและปัญญา
ก็ดี พระโยคาวจร ก็ดี จิต ก็ดี เรียกว่า อุปไมย เพราะเป็นสิ่งที่ถูกเปรียบ,
กิริยาที่จับและตัด
เป็นโอปัมมะ (อุปมา) เพราะเป็นความเสมอกันของอุปมาและอุปไมยกล่าวคือ เป็นลักษณะของมือกับโยนิโสมนสิการ
และเคียวกับปัญญา.
ยถา
และ เอวํศัพท์ เป็นอุปมาโชตก เพราะแสดงการอุปมาให้เห็น.
อนึ่ง อุปมาคือมือที่จับข้าว และเคียวนั้น ไม่ถูกถือเอาโดยแน่นอน กล่าวคือ ไม่ได้โดยตรง
แต่เป็นไปในอรรถที่ใกล้เคียงอุปไมยคือมนสิการที่มีลักษณะจับจิตและปัญญาที่มีลักษณะละกิเลสที่มีในจิต.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น