นมักกการปาฐะ
บทนมัสการพระพุทธเจ้า
๑.
สุคตํ สุคตํ เสฏฺฐํ, กุสลํกุสลํ ชหํ;
อมตํ อมตํ สนฺตํ, อสมํ อสมํ ททํฯ
สรณํ สรณํ โลกํ, อรณํ อรณํ กรํ;
อภยํ อภยํ ฐานํ, นายกํ นายกํ นเมฯ
ขอถวายนมัสการ พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ตรัสพระดำรัสไม่ผิดพลาด ทรงประเสริฐยิ่ง กำจัดทั้งกุศลและอกุศลเสียได้ ผู้เป็นอมตะ ทรงมีนิพพานอันอมตะ ทรงสงบระงับ หาผู้เสมอมิได้ ทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รู้แจ้งโลก ปราศจากกิเลสแล้ว เป็นผู้สร้างความปราศจากกิเลส ทรงปราศจากภัย นำมวลประชาไปสู่สถานที่ปราศจากภัย ทรงเป็นโลกนายกฯ
**********
อธิบายคำว่า เสฏฺฐํ
เมื่อคราวที่แล้วมา
ได้พรรณนาความหมายของคำว่า สุคตํ ทั้งสองบท โดยบทแรกมีควาหมายว่า
พระพุทธเจ้าที่ได้รับการขนานพระนามว่า สุคต. คำว่า สุคต เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่ง
ในบรรดา ชื่อเรียกถึง ... (อภิธานคาถา ๑) ส่วนคำว่า สุคต อีกคำหนึ่ง มีความหมาย
ผู้ตรัสพระดำรัสโดยชอบคือถูกต้องไม่ผิดพลาด. ถึงคราวหน้าจะพรรณนาคำว่า เสฏฺฐํ
ที่มีความหมายว่า สุดประเสริฐ เป็นต้นตามนัยที่คัมภีร์ฎีกาอธิบาย สืบไป
บัดนี้จะได้พรรณนาความหมายของบทว่า
เสฏฺฐํ สืบไป
คัมภีร์นมักการฎีกา
แสดงความหมายของบทนี้ไว้หลายประการ คือ
สุดประเสริฐ ๑ ทรงแสวงหาธรรมอันดีงาม ๑
ผู้ที่สัตบุรุษควรค้นหา ๑ ทรงเป็นผู้ที่สัตบุรุษ รักใคร่ ๑ ทรงปรารถนาประโยชน์และความสุขแก่สัตตบุรุษทั้งหลาย
๑ ทรงยังเวไนยนิกรทั้งหลายให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ดีงาม ๑
จะได้นำคำพรรณนาของฎีกามาแสดงโดยลำดับ
ผู้สุดประเสริฐ
เสฏฺฐนฺติ คุณมหนฺตตฺตา
ปสตฺถตรํฯ โส หิ ปสตฺถานํ วิเสเสน ปสตฺโถติ เสฏฺโฐติ วุจฺจติฯ ปสตฺถปทํ, วิเสสตทฺธิเต
อิฏฺฐปจฺจโยฯ ปสตฺถสทฺทสฺส โส, ปสตฺถานํ ปจฺเจกพุทฺธาริยสาวกาทีนํ
สีลสมาธิปญฺญาทิคุเณหิ วิเสเสน ปสตฺโถติ อตฺโถฯ
พระสุคตพุทธเจ้าทรงประเสริฐที่สุด แห่งผู้ประเสริฐทั้งหลาย ฉะนั้น
จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ สุดประเสริฐ. เดิมมาจากบทว่า ปสตฺถ ลง อิฏฺฐ ปัจจัย
ในวิเสสตัทธิต แปลง ปสตฺถ เป็น ส สำเร็จรูปเป็น เสฏฺฐ. หมายความว่า ทรงประเสริฐสุดแห่งผู้ประเสริฐทั้งหลาย
มีพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกเป็นต้นด้วยพระคุณคือศีล สมาธิ และปัญญา
เป็นต้น.
ผู้ทรงค้นพบธรรมที่ดีงาม
อถ วา สุนฺทเร สติปฏฺฐานาทิเภเท
ธมฺเม เอสติ คเวสติ เอสิํ คเวสินฺติ วา เสฏฺโฐ, พุทฺโธฯ สุปุพฺโพเอส คเวสเน ตฯ ตสฺส
รฏฺโฐฯ สุสทฺโท สุนฺทรตฺโถฯ
อีกนัยหนึ่ง
ทรงค้นหา หรือ ทรงค้นหาพบแล้ว
ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ดีงาม ที่แยกประเภทมีสติปัฏฐานเป็นต้น ฉะนั้น พระพุทธองค์
จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ ผู้ทรงค้นพบธรรมที่ดีงาม. กรณีนี้ มาจาก เอส
ธาตุที่มีสุเป็นบทหน้า ใช้ในความหมายว่า ค้นหา และลง ต ปัจจัย. แปลง ต เป็น ฏฺฐ.
สุ อุปสัคที่เป็นบทหน้า มีความหมายว่า ดีงาม.
ผู้ที่สัตตบุรุษ ควรแสวงหา
สนฺเตหิ สปฺปุริเสหิ เอสิตพฺโพ
คเวสิตพฺโพติ วา เสฏฺโฐฯ สนฺตสทฺทูปปโท อิส คเวสเน ต, สนฺตสทฺทสฺส โส,
อิการสฺเส, ตสฺส ฏฺโฐฯ
อีกนัยหนึ่ง ทรงเป็นผู้ที่สัตบุรุษ
ควรแสวงหา ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ ผู้ที่สัตบุรุษควรแสวงหา. กรณีนี้ อิส
ธาตุ ในความหมายว่า แสวงหา ลง ตปัจจัย โดยมี สนฺต เป็นบทเคียง. แปลง สนฺต เป็น ส,
แปลง อิ เป็น เอ และแปลง ต เป็น ฏฺฐ สำเร็จรูปเป็น เสฏฺโฐ.
ทรงเป็นผู้ที่สัตบุรุษรักใคร่
สนฺเตหิ สปฺปุริเสหิ อิจฺฉิยติ
กนฺติย ตีติ วา เสฏฺโฐฯ สนฺตสทฺทูปปโท อิสุ อิจฺฉากนฺตีสุ ตฯ
อีกนัยหนึ่ง
ทรงเป็นผู้ที่สัตบุรุษ รักใคร่ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ
ผู้ที่สัตบุรุษรักใคร่. กรณีนี้มาจาก อิสุ ธาตุ ในความหมายว่า ปรารถนา หรือรักใคร่
ลง ตปัจจัย โดยมี สนฺต เป็นบทเคียง.
(การใช้คำว่า บทเคียง แสดงว่า
บทนั้นเป็นกิตันตสมาส คือ บทสมาสที่มีบทนามกิตอยู่หลัง ไม่ใช่บทนามกิต
ส่วนที่ใช้คำว่า บทหน้า แสดงว่า บทนั้นเป็นกิริยากิต หรือ กิริยาอาขยาต ที่มี
อุปสัคนำหน้าโดยทั่วไป)
ทรงปรารถนาประโยชน์และความสุขแก่สัตตบุรุษทั้งหลาย
อถ วา สนฺตานํ สปฺปุริสานํ
หิตสุขํ อิจฺฉตีติ เสฏฺโฐ,
พุทฺโธฯ กตฺตุสาธโนยํฯ
ทรงปรารถนาประโยชน์และความสุขแก่สัตตบุรุษทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง
ทรงปรารถนาประโยชน์และความสุขแก่สัตตบุรุษทั้งหลาย ฉะนั้น พระพุทธองค์
จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ. รูปนี้เป็น กัตตุสาธนะ.
ทรงยังเวไนยนิกรทั้งหลายให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ดีงาม
สุนฺทเร สติปฏฺฐานา ทิเภเท ธมฺเม
เอเสติ พุทฺเธตีติ วา เสฏฺโฐฯ เหตุ กตฺตุสาธโนยํฯ สุปุพฺพเอสธาตุ พุทฺธิยํ ตฯ
อีกนัยหนึ่ง ทรงยังเวไนยนิกรทั้งหลายให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ดีงาม
อันต่างโดยสติปัฏฐานเป็นต้น ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า เสฏฺโฐ
ผู้ทำให้เวไนยสัตว์ได้ตรัสรู้ธรรมที่ดีงาม. รูปนี้เป็น เหตุกัตตุสาธนะ โดยมาจาก
เอส ธาตุ ในอรรถว่า ตรัสรู้ มีสุเป็นบทหน้า และลง ตปัจจัย.
ตํ เสฏฺฐํฯ
ขอถวายมัสการ พระพุทธองค์
ผู้ทรงพระนามว่า เสฏฺฐ (เสฏฺฐํ) โดยความหมายว่า ประเสริฐยิ่ง เป็นต้น พระองค์นั้น.
***********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น