วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘. นมกฺการฎีกา อธิบายคำว่า อสมํ อสมํ ททํ ในคาถา ๑

นมักกการปาฐะ
บทนมัสการพระพุทธเจ้า
.
          สุคตํ สุคตํ เสฏฺฐํ,           กุสลํกุสลํ ชหํ;
            อมตํ อมตํ สนฺตํ,            อสมํ อสมํ ททํ
          สรณํ สรณํ โลกํ           อรณํ อรณํ กรํ;
          อภยํ อภยํ ฐานํ           นายกํ นายกํ นเมฯ
            ขอถวายนมัสการ พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ตรัสพระดำรัสไม่ผิดพลาด  ทรงประเสริฐยิ่ง กำจัดทั้งกุศลและอกุศลเสียได้ ผู้เป็นอมตะ ทรงมีนิพพานอันอมตะ ทรงสงบระงับ หาผู้เสมอมิได้  ทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รู้แจ้งโลก ปราศจากกิเลสแล้ว เป็นผู้สร้างความปราศจากกิเลส  ทรงปราศจากภัย นำมวลประชาไปสู่สถานที่ปราศจากภัย ทรงเป็นโลกนายกฯ

******************* 

บัดนี้ จะได้อธิบายคำว่า อสมํ พระสุคตพุทธเจ้า ทรงหาผู้เสมอมิได้ และทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม ตามที่พระฎีกาจารย์ได้พรรณนาไว้
อสมนฺติ สีลาทิคุเณหิ เกนจิ ปุคฺคเลน อสทิสํ, โส หิ พุทฺโธ นตฺถิ สีลาทิคุเณหิ สโม สทิโส เอตสฺสาติ อสโมติ วุจฺจติฯ อิมสฺมิํ สตฺตโลเก สีล สมาธิปญฺญาทิคุเณหิ พุทฺเธน สทิโส โกจิ มนุสฺโส วา เทโว วา พฺรหฺมา วา นตฺถีติ อตฺโถฯ ภควโต หิ อสีติ อนุพฺยญฺชนปฏิมณฺฑิตพาตฺติํสมหาปุริสลกฺขเณหิ วิจิตฺรรูปกาโย จ สพฺพากาเรหิ ปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตนสมิทฺโธ ธมฺมกาโย จ ปุญฺญมหตฺตถามมหตฺตอิทฺธิมหตฺตยสมหตฺตปญฺญามหตฺตาทิคุเณหิ จ ปรมุกฺกํสคโต จ อตฺถิ, ตสฺมา ภควา สีลาทิคุเณหิ เกนจิ อสโม อสทิโสติ วุตฺตํ โหติฯ
บุคคลใดๆ ที่เสมอเหมือนกับพระองค์โดยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ไม่มี ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อสมํ ไม่มีผู้เสมอเหมือน. แท้ที่จริง พระพุทธเจ้า หาได้มีผู้ที่จะมาเสมอเหมือนโดยศีลเป็นต้น ไม่ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อสม ไม่มีผู้เสมอเหมือน. หมายความว่า บุคคลใดๆ ในสัตวโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นมนุษญ์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ที่จะเสมอเหมือนพระพุทธองค์ด้วยศีลสมาธิและปัญญาเป็นต้น หาได้มีไม่. แท้ที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระรูปกายอันวิจิตรไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ที่ประดับด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ และทรงมีพระธรรมกายที่สำเร็จด้วยรัตนะคือคุณมีศีลขันธ์เป็นต้นที่บริสุทธิ ที่ถึงความสูงส่งด้วยพระคุณมีความยิ่งใหญ่แห่งบุญ อิทธิฤทธิ์ พระยศ และพระปัญญา, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงทรงพระนามว่า อสม คือ หาผู้ใดที่เสมอเหมือน โดยสีลาทิคุณเป็นต้น มิได้.

อสมํ ททนฺติ โลกิยธมฺเมน อสทิสํ มคฺคผลนิพฺพาน ธมฺมํ เวเนยฺยานํ สตฺตานํ เทสนาญาเณน ทายกํฯ เอตฺถ จ อสมนฺติ นตฺถิ เอตฺถ เอเตสํ วา สโม สทิโส โลกิยธมฺโมติ อสโม, มคฺคผลนิพฺพานํ ลพฺภติฯ อถ วา อสมนฺติ อญฺเญสํ ธมฺมานํ อคฺคภาวโต จตุพฺพิเธน อริย มคฺเคน สจฺฉิกาตพฺพํ นิพฺพานํ วุจฺจติฯ วุตฺตญฺเหตํ ภควตา ‘‘ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสงฺขตา วา, วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายตี’’ติฯ ตสฺส ปน ปทสฺส ททนฺติปเทน กมฺมภาเวน สมฺพนฺโธฯ ททาตีติ ทโท, พุทฺโธฯ ทาธาตุ อ, โส เกนจิ โลกิยธมฺเมน อสมํ อสทิสํ มคฺคผลนิพฺพานสงฺขาตํ โลกุตฺตรธมฺมํ มหากรุณาปฺปธาเนน อมตาธิคมปฏิปตฺติทสฺสเนน เทสนาญาเณน เวเนยฺยานํ สตฺตานํ ทาตาติ อตฺโถฯ ตํ อสมํ ททํฯ
อสมํ ททํ พระสุคตพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ประทานโลุตรธรรมที่ไม่เสมอเหมือนกับโลกิยธรรม เป็นอย่างไร
สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงประทานพระธรรมคือมรรค ผล และนิพพาน ที่ไม่เสมอกับโลกิยธรรม แก่หมู่เวไนยสัตว์ ด้วยพระเทศนาญาณ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ว่า ควรทำความเข้าใจในคำศัพท์เล็กน้อยก่อน คือ
โลกุตรธรรม ๓ คือ มรรค ผล และนิพพาน มีชื่อเรียกในคาถานี้ว่า อสม โดยความหมายว่า ในโลกุตรธรรมนี้ หรือ โลกุตรธรรมนี้ ไม่มีโลกิยธรรมที่เสมอเหมือน.
อีกกรณีหนึ่ง เฉพาะพระนิพพานเท่านั้นที่มรรคทั้ง ๔ จะพึงกระทำให้แจ้ง ชื่อว่า อสม โดยความหมายว่า เป็นธรรมที่เลิศสุดในบรรดาธรรมเหล่าอื่น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสงฺขตา วา, วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ” ภิกษุทั้งหลาย วิราคะ คือนิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศสุดแห่งธรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสังขตะหรืออสังขตะ”.
บัณฑิตผู้ใส่ใจในการศึกษาจากภาษาบาฬี พึงนำคำว่า อสม นี้มาสัมพันธ์กับบทว่า ททํ โดยเป็นบทกรรม.
บทว่า ททํ ผู้ทรงประทาน มีความหมายว่า อย่างไร?
บทว่า ททํ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงประทาน. คำนี้ สำเร็จรูปมาจาก ทา ธาตุ ในความหมายว่า ให้ และ ลง อปัจจัย มีความหมายว่า เป็นผู้ให้. ด้วยเหตุนี้แหละ คำว่า พระสุคตพุทธเจ้า จีงทรงพระนามว่า อสมํ ททํ ทรงประทานโลกุตรธรรมที่ไม่เสมอกับโลกียธรรม ตามความหมายว่า ทรงเป็นผู้ประทานโลกุตรธรรมคือมรรคผลและนิพพานที่ไม่เสมอเหมือนกับโลกิยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่หมู่เวไนยสัตว์ด้วยเทศนาญาณ อันแสดงถึงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตะ ที่มีพระมหากรุณาเป็นประธาน.
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายนมัสการ พระสุคตพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานพระโลกุตรธรรมที่มิเสมอเหมือนกับโลกิยธรรม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น