วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อุกฺกณฺฐ = แหนงหน่าย

นัยแรก ความหงุดหงิดใจ งุ่นง่านใจ

อุกฺกณฺฐิต ได้แก่ ความขัดข้องใจ เพราะไม่ได้สิ่งที่รักและต้องการ หรือ ได้ในสิ่งที่ไม่เป็นที่รักและต้องการ องคธรรมได้แก่ โทมนัสสจิตตุปบาท นั่นเอง. 


 ปิยวตฺถุวิรเหน, ปิยวตฺถุอลาเภน วา จิตฺตวิคฺฆาโต อุกฺกณฺฐิตา, สา ปนตฺถโต โทมนสฺสจิตฺตุปฺปาโทว. (สี.ฎี. ๒/๔๑)



นัยที่สอง ความงุ่นง่าน หรือ การมีจิตถูกความไม่ยินดีเบียดเบียนเอา คือ กระวนกระวายใจ


มาจาก กฐ ธาตุ ในการเป็นอยู่อย่างอึดอัด  อุกฺกณฺฐนํ อุกฺกณฺโฐ, กิจฺฉชีวิตาฯ ‘‘กฐ กิจฺฉชีวเน’’ติ หิ วทนฺติฯ ตมิโต ปตฺโตติ อุกฺกณฺฐิโต, อนภิรติยา วา ปีฬิโต วิกฺขิตฺตจิตฺโต หุตฺวา สีสํ อุกฺขิปิตฺวา อุทฺธํ กณฺฐํ กตฺวา อิโต จิโต จ โอโลเกนฺโต อาหิณฺฑติ, วิหรติ จาติ อุกฺกณฺฐิโต นิรุตฺตินเยน, ตํ อุกฺกณฺฐิตํฯ สทฺทสามตฺถิยาธิคตมตฺโต เจส, โวหารโต ปน อนภิรติยา ปีฬิตนฺติ อตฺโถฯ  (สี.ฎี - .)


ทั้งสองนัยนี้ เป็นคำแปลโดยสัททนัย ตามบริบทของพระบาฬีต่างๆ


โดยสภาวะได้แก่ โทมนัสสหคตจิต หรือ โทสะนั่นเอง ที่มีลักษณะผลักไสอารมณ์ คือ ไม่ต้องการต่อสิ่งนั้นๆ.  


ดังพระบาฬีทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร ความว่า


๔๑. ‘‘ตสฺส ตตฺถ เอกกสฺส ทีฆรตฺตํ นิวุสิตตฺตา อนภิรติ ปริตสฺสนา อุปปชฺชติ – ‘อโห วต อญฺเญปิ สตฺตา อิตฺถตฺตํ อาคจฺเฉยฺยุ’นฺติฯ

เพราะความที่พรหมผู้เกิดใหม่นั้น อาศัยอยู่ ณ พรหมโลกแห่งใหม่นั้น เพียงผู้เดียว ตลอดระยะเวลานานแสนนาน อนภิรติ ความไม่เพลิดเพลิน (หรือความว้าเหว่าใจ) ย่อมเกิดขึ้น, ความปรารถนาเฝ้ารอ (ปริตสฺสนา) ย่อมเกิดขึ้น.

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า

๔๑. อนภิรตีติ อปรสฺสาปิ สตฺตสฺส อาคมนปตฺถนาฯ ยา ปน ปฏิฆสมฺปยุตฺตา อุกฺกณฺฐิตา, สา พฺรหฺมโลเก นตฺถิฯ
ความไม่เพลิดเพลิน (ในที่นี้) คือ การต้องการให้สัตว์อื่นๆมาอีก. แต่ความขัดข้องใจ ที่กอปรด้วยปฏิฆะ หาได้มีในพรหมโลกไม่. (คือ ความไม่เพลิดเพลิน นั้นไม่ใช่ความขัดข้องหมองใจ หงุดหงิด รำคาญ หรือเบื่อด้วยอำนาจโทสะ เพราะในพรหมโลกไม่มีโทสจิต)

จะเห็นได้ว่า อุกฺกณฺฐิต (อุ + กฐ กิจฺฉชีวน อยู่ลำบาก) แปลโดยคำศัพท์ว่า อยู่ลำบาก และแปลโดยโวหารว่า มีจิตถูกความไม่ยินดีเบียดเบียน เมื่อว่าโดยสภาพธรรม ได้แก่  ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโทสะที่มีลักษณะไม่ต้องการต่อสิ่งนั้น ดังนั้น จึงควรแสวงหาคำแปลที่เหมาะสมต่อบริบท 

ในธัมมปทัฏฐกถา จะมีคำศัพท์นี้กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง และท่านแปลว่า กระสัน คือ บรรยายกิริยาอาการของภิกษุผู้เบื่อหน่าย ใคร่จะสึกหาลาเพศบรรพชิต. พูดง่ายๆว่า คับข้องใจไม่อยากอยู่ในที่นี้อีกต่อไป


แต่ในเรืองมหาชนกนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรแปลว่า ไม่แหนงหน่าย คือ ไม่เลิกล้มความเพียรเพื่อจะว่ายน้ำให้ถึงเมืองมิถิลา


ด้วยประการฉะนี้.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น