วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๑๑ ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีการแล่นไปเป็นลักษณะ

๑๑. สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณสทฺธาปญฺโห
๑๑. ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีความแล่นไปเป็นลักษณะ

๑๑. ‘‘กถํ, ภนฺเต, สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา สทฺธา’’ติ,?
ราชา พระราชา  ปุจฺฉิ  ตรัสถาม อิติ ว่า ภนฺเต พระคุณเจ้า สทฺธา ศรัทธา สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา มีการแล่นไปเป็นลักษณะ กถํ อย่างไร?” ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, โยคาวจโร อญฺเญสํ จิตฺตํ วิมุตฺตํ ปสฺสิตฺวา โสตาปตฺติผเล วา สกทาคามิผเล วา อนาคามิผเล วา อรหตฺเต วา สมฺปกฺขนฺทติ โยคํ กโรติ อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา อนธิคตสฺส อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส  สจฺฉิกิริยายฯ
เถโร พระเถระ อาห ทูล อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร พระโยคาวจร  ปสฺสิตฺวา เห็นแล้ว จิตฺตํ จิต  วิมุตฺตํ  อันหลุดพ้นแล้ว[1]  อริยานํ ของพระอริยะท.  อฃฺเฃสํ เหล่าอื่น สมฺปกฺขนฺทติ ย่อมแล่นไป[2] โสตาปตฺติผเล วา ในโสดาปัตติผล หรือ สกทาคามิผเล วา หรือว่า ในสกทาคามิผล อนาคามิผเล วา ในอนาคามิผล หรือ อรหตฺเต วา หรือว่า ในอรหัตตผล, กโรติ  ย่อมกระทำ โยคํ ซึ่งความเพียร ปตฺติยา เพื่อการเข้าถึง คุณสฺส  ซึ่งคุณที่   (อตฺตนา ตน) อปฺปตฺตสฺส ไม่เข้าถึง อธิคมาย เพื่อการบรรลุ คุณสฺส ซึ่งคุณ อนธิคตสฺส ที่ (อตฺตนา ตน)  ไม่บรรลุแล้ว[3] สจฺฉิกิริยาย เพื่อทำให้แจ้ง คุณสฺส  ซึ่งคุณ ที่ (อตฺตนา ตน) อสจฺฉิกตสฺส  ไม่กระทำให้แจ้งแล้ว.

เอวํ โข, มหาราช, สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา สทฺธา’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สทฺธา  ศรัทธา  สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา มีการแล่นไปเป็นลักษณะ  เอวํ อย่างนี้ โข แล ดังนี้.

‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ตฺวํ พระคุณเจ้า กโรหิ จงทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, อุปริปพฺพเต มหาเมโฆ  อภิปฺปวสฺเสยฺย, ตํ อุทกํ ยถานินฺนํ ปวตฺตมานํ ปพฺพตกนฺทรปทรสาขา ปริปูเรตฺวา นทึ ปริปูเรยฺย, สา อุภโต กูลานิ สํวิสฺสนฺทนฺตี คจฺเฉยฺย,
เถโร พระเถระ อาห ทูล อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร มหาเมโฆ เมฆใหญ่  อภิปฺปวสฺเสยฺย พึงหลั่งทั่วยิ่ง[4] อุปริปพฺพเต บนภูเขา, ตํ อุทกํ น้ำนั้น ปวตฺตมานํ เมื่อไหลไป ยถานินฺนํ ตามควรแก่ที่แห่งตนไหลไป ปพฺพตกนฺทรปทรสาขา ยังโตรกเขาและเงื้อมผาท.[5] ปริปูเรตฺวา ให้เต็มแล้ว นทึ  ยังแม่น้ำ ปริปูเรยฺย พึงให้เต็ม, สา นที  แม่น้ำนั้น  สํวิสฺสนฺทนฺตี คจฺเฉยฺย พึงไหลบ่าไปอยู่ กูลานิ สู่ฝั่งท. อุภโต โดยส่วนสอง.[6]

อถ มหาชนกาโย อาคนฺตฺวา ตสฺสา นทิยา อุตฺตานตํ วา คมฺภีรตํ วา อชานนฺโต ภีโต วิตฺถโต ตีเร ติฏฺเฐยฺย,
อถ ครั้งนั้น มหาชนกาโยปิ แม้หมู่มหาชน อาคนฺตฺวา มาแล้ว อชานนฺโต เมื่อไม่รู้ อุตฺตานตํ วา ซึ่งความที่ – ตสฺสา นทิยา แห่งแม่น้ำนั้น – เป็นน้ำตื้นหรือ  คมฺภีรตํ วา หรือว่า ซึ่งความที่ – ตสฺสา นทิยา แห่งแม่น้ำนั้น – เป็นน้ำลึก ภีโต กลัวแล้ว วิตฺถโต ชะงักแล้ว[7] ติฏฺเฅยฺย ยับยั้งอยู่ ตีเร ที่ฝั่ง,

อถญฺญตโร ปุริโส อาคนฺตฺวา อตฺตโน ถามญฺจ พลญฺจ สมฺปสฺสนฺโต คาฬฺหํ กจฺฉํ พนฺธิตฺวา ปกฺขนฺทิตฺวา ตเรยฺย, ตํ ติณฺณํ  ปสฺสิตฺวา มหาชนกาโยปิ ตเรยฺยฯ
ปุริโส บุรุษ อฃฺฃตโร อีกคนหนึ่ง อาคนฺตฺวา มาแล้ว สมฺปสฺสนฺโต พิจารณาอยู่ ถามํ เรี่ยวแรง พลํ จ และกำลัง อตฺตโน ของตน พนฺธิตฺวา ผูก กจฺฉํ ชายผ้านุ่ง  คาฬฺหํ จนแน่น ปกฺขนฺทิตฺวา กระโจนลงแล้ว ตเรยฺย พึงข้ามไป, มหาชนกาโยปิ แม้หมู่มหาชน ปสฺสิตฺวา เห็นแล้ว ตํ ปุริสํ บุรุษนั้น ติณฺณํ ผู้ข้ามแล้ว ตเรยฺย พึงข้ามไป ยถา ฉันใด,

เอวเมว โข, มหาราช, โยคาวจโร อญฺเญสํ จิตฺตํ วิมุตฺตํ ปสฺสิตฺวา โสตาปตฺติผเล วา สกทาคามิผเล วา อนาคามิผเล วา อรหตฺเต วา สมฺปกฺขนฺทติ โยคํ กโรติ อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา อนธิคตสฺส อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส สจฺฉิกิริยายฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยคาวจโร พระโยคาวจร ปสฺสิตฺวา เห็นแล้ว จิตฺตํ จิต วิมุตฺตํ อันหลุดพ้นแล้ว  อริยานํ ของพระอริยะท.  อฃฺเฃสํ เหล่าอื่น สมฺปกฺขนฺทติ ย่อมแล่นไป โสตาปตฺติผเล วา ในโสดาปัตติผล บ้าง สกทาคามิผเล วา ในสกทาคามิผล บ้าง อนาคามิผเล วา ในอนาคามิผล บ้าง อรหตฺเต วา ในอรหัตตผลบ้าง, กโรติ  ย่อมกระทำ โยคํ ซึ่งความเพียร ปตฺติยา เพื่อการเข้าถึง คุณสฺส  ซึ่งคุณที่   (อตฺตนา ตน) อปฺปตฺตสฺส ยังไม่เข้าถึง, อธิคมาย เพื่อการบรรลุ คุณสฺส ซึ่งคุณที่ (อตฺตนา ตน)  อนธิคตสฺส ไม่บรรลุ,  สจฺฉิกิริยาย เพื่อทำให้แจ้ง คุณสฺส  ซึ่งคุณที่ (อตฺตนา ตน) อสจฺฉิกตสฺส  ยังไม่ทำให้แจ้ง เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

เอวํ โข, มหาราช, สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา สทฺธาติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร   สทฺธา  อ.ศรัทธา  สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา มีการแล่นไปเป็นลักษณะ  เอวํ อย่างนี้ โข แล” ดังนี้.

ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตาสํยุตฺตนิกายวเร
สทฺธาย ตรตี โอฆํ,             อปฺปมาเทน อณฺณวํ;
วีริเยน ทุกฺขมจฺเจติ,            ปญฺญาย ปริสุชฺฌตี’’’ติ

มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร  เอตํ วจนํ ปิ แม้ พระดำรัสนั้น ภควตา อันพระผู้มีพระภาค   ภาสิตํ  ตรัสแล้ว   สํยุตฺตนิกายวเร ในพระสังยุตนิกายอันประเสริฐ อิติ ว่า
ปุคฺคโล อ.บุคคล ตรตี ย่อมข้าม โอฆํ ซึ่งห้วงน้ำ (คือกิเลส) สทฺธาย ด้วยศรัทธา, (ตรตี) ย่อมข้าม อณฺณวํ มหรรณพ (คือสังสารวัฏฏ์) อปฺปมาเทน ด้วยความไม่ประมาท, อจฺเจติ ย่อมล่วงพ้น ทุกฺขํ ซึ่งทุกข์(คือวัฏฏะ)  วีริเยน ด้วยความเพียร, ปริสุชฺฌติ ย่อมหมดจด (จากมลทินคือกิเลส) ปฃฺฃาย ด้วยปัญญา" ดังนี้.

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา อ.พระราชา อโวจ ได้ตรัสแล้ว      อิติ ว่า นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน   ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, ตฺวํ อ.ท่าน กลฺโล เป็นผู้สามารถแก้ปัญหา อสิ ย่อมเป็น” ดังนี้.

สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณสทฺธาปญฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีการแล่นไปเป็นลักษณะ
เอกาทสโม ที่สิบเอ็ด นิฏฺฅิโต จบแล้ว.

v





[1] ฏีกาอธิบายว่า ได้แก่ เห็นจิตที่หลุดพ้นโดยพิเศษ คือแล่นไปในผลมีโสตาปัตติผลเป็นต้น ของพระอริยะเหล่าอื่นด้วยจักษุคือญาณ. จะเห็นได้ว่า ฏีกาให้คำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า  วิมุตฺตํ = วิเสเสน + อธิมุตฺตํ  > ปกฺขนฺทนฺตํ.  จิตที่หลุดพ้นโดยพิเศษ คือ แล่นไปในโสตาปัตติผลเป็นต้น แสดงว่า อธิมุตต ในที่นี้เป็นชื่อหนึ่งของ วิมุติ ความหลุดพ้น อันเป็นภาวะที่แล่นไปในธรรมคือวิมุตติมีโสตาปัตติผลเป็นต้น.  (ขยายความว่า พระโยคาวจร ผู้พบเห็นพระอริยะแล้ว ก็ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจึงจะทราบแน่ว่า ผู้นี้คือพระอริยะ มิได้เห็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น. อนึ่ง คำว่า วิมุตฺตํ จิตฺตํ จิตที่หลุดพ้น นี้กล่าวโดยสำนวนที่เรียกว่า ฐานยูปจาระ กล่าวถึง ผู้อาศัยแต่หมายถึงที่ให้อาศัย คือ พูดถึงผลจิตอันเป็นผู้อาศัยแต่หมายถึง บุคคล อันเป็นที่อาศัยของผลจิต กล่าวคือ พระอริยะผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้ว.)
[2] อรรถกถาอธิบายว่า สมฺปกฺขนฺทติ ย่อมแล่นไป หมายถึง พระโยคาวจร ย่อมส่งจิตไปในโสตาปัตติผล ฯลฯ หรือในอรหัตตผล. (ขยายความว่า ผู้มีศรัทธา ครั้นได้เห็นพระอริยบุคคล ก็เกิดความเลื่อมใส คือส่งจิตเข้าไปในคุณของพระอริยะเหล่านั้นว่า ปฏิปทาเป็นเหตุที่ให้ท่านบรรลุอริยผลนี้มีจริง ไม่เหลวเปล่า" ดังนี้แล้วก็ทำความเพียรให้บรรลุคุณคืออริยผลนั้น.  พระนาคเสน ยกบุคคลกล่าวคือพระโยคาวจรมาเป็นแนวเทศนาโดยพาดพิงถึงธรรมคืออริยผล. ความจริง ศรัทธานี้ เป็นธรรมชาติที่นำจิตและสัมปยุตธรรมให้แล่นไป น้อมไป ในสิ่งที่ตนเชื่อถือก่อน จากนั้นก็ปฏิบัติให้เข้าถึงสิ่งนั้นที่ตนเชื่อถือนั้นด้วยความเพียรและปัญญา.)
[3] อปฺปตฺต, อนธิคต, และอสจฺฉิกต ๓ บทนี้ อรรถกถาอธิบายโดยเป็นวิเสสนะของวิเสสยะแยกแต่ละบทว่า อปฺปตฺต คือ ผล ผลที่ยังไม่ถึง, อนธิคต คือ มคฺค มรรค ที่ยังไม่บรรลุ และ อสจฺฉิกต คือ ผล ผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง. แต่ในที่นี้แปลโดยเป็นวิเสสนะของวิเสสยะแบบสามัญโดยไม่แยกแยะว่า คุณ เหมือนกันทั้ง ๓ บท.
[4] มหาเมโฆ เมฆใหญ่ หรือพายุฝน  มาจาก มิห รด, โปรย มีวิ. มิหติ สิฃฺจติ โลกํ วสฺสธาราหีติ เมโฆ, ปชฺชุนฺโน เมฆ คือ หลั่งรดโลกด้วยธารน้ำ. ศัพท์ที่มีความหมายว่า เมฆฝน มี ๑๑ บทเช่น เมฆ, วลาหก, ปชฺชุนฺนเป็นต้น ส่วนฝน ก็เป็นอีกศัพท์หนึ่ง คือ วสฺส, วสนํ, วุฏฺฅิ. ดังนั้น เมฆ ไม่ใช่ ฝน แต่เป็นเหตุให้ฝนตก จึงถือเอาโดยเหตุกัตตุได้ว่า ยังน้ำฝนให้หลั่งไหล. ส่วนคำว่า อภิปฺปวสฺเสยฺย อภิ ยิ่ง + ป ทั่ว + วสฺส รดราด + เอยฺย หมายถึง ตกหนักมาก.  ในที่นี้ หมายถึง ฝนตกหนักมาก โดยการณูปจาระ พูดถึงเมฆอันเป็นเหตุแต่หมายถึงฝนที่ตก.
[5] พึงนำคำว่า ปพฺพต มาเชื่อมทั้งสองบทว่า ปพฺพตกนฺทร + ปพฺพตปทรสาขา = ปพฺพตกนฺทรปทรสาขา เพราะเป็น ทวันทสมาส. ปพฺพตกนฺทร หมายถึง ส่วนหนึ่งแห่งภูเขาที่ถูกน้ำเซาะเป็นทางให้น้ำไหลผ่าน ได้แก่ โตรกหรือซอก, ปทรสาขา หมายถึง ส่วนที่ยื่นมาของภูเขา ได้แก่ เงื้อมผา(ปวุทฺธทริ ธ. ๑๐๐๙).
[6] หมายถึง ไหลบ่าท่วมริมแม่น้ำสองฝั่ง.
[7] วิตฺถโต  ชะงักแล้ว  แปลตามมิลินทปัญหานิสสยะ ฉบับพม่า ซึ่งสอดคล้องกับอรรถกถาสีลขันธวรรคและอรรถกถาวินัยปิฎกมหาวรรคที่ว่า วิตฺถายิ ประพฤติเหมือนผู้มีกายแข็งทื่อ (คือ นิ่งมาจาก วิ + ถา หยุด  + ต).  อีกนัยหนึ่งแปลว่า ไม่กล้า ในพจนานุกรมฉบับภูมิพโลแสดงว่า วิ+ตฺรส สะดุ้งกลัว+ต.  อรรถนี้สอดคล้องกับฏีกาสีลขันธวรรคที่ว่า               วิตฺถายิตตฺตา คือ สารชฺชิตตฺตา ความเป็นผู้ไม่กล้า. ในอนุมานปัญหา ในมิลินทปัญหา นี้ก็แสดงว่า วิตฺถเต ภีตมานเส           ผู้หวาดหวั่น มีจิตเกรงกลัว ดังนั้น อรรถนี้ก็ใช้ได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น