วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๑๓ ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของสติ

๑๓. สติลกฺขณปญฺโห
๑๓. สติลกฺขณปฃฺโห ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของสติ
๑๓. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, กึลกฺขณา สตี’’ติ?
๑๓. ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน  สติ สติ กึลกฺขณํ  มีอะไรเป็นลักษณะเล่า ?" ดังนี้.

‘‘อปิลาปนลกฺขณา, มหาราช, สติ, อุปคฺคณฺหนลกฺขณา จา’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺเชสิ วิสัชชนาอิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ  อปิลาปนลกฺขณา จ มีการไม่ลืมเลือนเป็นลักษณะ[1] ด้วย, อุปคฺคณฺหนลกฺขณา จ มีการเข้าไปถือเอาเป็นลักษณะ ด้วย


‘‘กถํ, ภนฺเต, อปิลาปนลกฺขณา สตี’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต พระคุณเจ้า สติ สติ อปิลาปนลกฺขณา   มีการไม่ลืมเลือนเป็นลักษณะ กถํ อย่างไร?" ดังนี้.

‘‘สติ, มหาราช, อุปฺปชฺชมานา กุสลากุสล สาวชฺชานวชฺช หีนปฺปณีต กณฺหสุกฺก สปฺปฏิภาคธมฺเม อปิลาเปติ อิเม จตฺตาโร สติปฏฺฐานา, อิเม จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา, อิเม จตฺตาโร อิทฺธิปาทา, อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ, อิมานิ ปญฺจ พลานิ, อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา, อยํ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค, อยํ สมโถ, อยํ วิปสฺสนา, อยํ วิชฺชา, อยํ วิมุตฺตีติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺเชสิ  วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ  อุปฺปชฺชมานา  เมื่อเกิดขึ้น อปิลาเปติ ย่อมไม่ลืมเลือน  กุสลากุสล, สาวชฺชานวชฺช, หีนปฺปณีต, กณฺหสุกฺก, สปฺปฏิภาคธมฺเม[2] ซึ่งธรรมที่เป็นกุศล ควรเสพ ธรรมที่เป็นอกุศล ไม่ควรเสพ, ธรรมที่มีโทษ  เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมที่เลว เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ประณีต เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมที่ดำ เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ขาว เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นอกุศลไม่ควรเสพ และธรรมที่เหมาะสมเป็นกุศลควรเสพท.[3] อิติ ว่า “สติปฏฺฅานา อสติปัฏฐาน ท. จตฺตาโร   สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, สมฺมปฺปธานา, สัมมัปปธานท. จตฺตาโร สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, อิทฺธิปาทา อิทธิบาท จตฺตาโร สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, อินฺทฺริยานิ อินทรีย์ท. ปญฺจอิมานิ เหล่านี้เป็นกุศลควรเสพ, พลานิ  พละท. ปญฺจอิมานิ เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, โพชฺฌงฺคา โพชฌงค์ท. สตฺตอิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, อริโย  มคฺโค อริยมรรค อฏฺฅงฺคิโก อันประกอบด้วยองค์ ๘ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, สมโถ สมถะ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, วิปสฺสนา วิปัสสนา อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, วิชฺชา ชชา อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ วิมุตฺติ วิมุตติ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ” ดังนี้.

ตโต โยคาวจโร เสวิตพฺเพ ธมฺเม เสวติ, อเสวิตพฺเพ ธมฺเม น เสวติฯ ภชิตพฺเพ ธมฺเม ภชติ อภชิตฺตพฺเพ ธมฺเม น ภชติฯ
ตโต เพราะสตินั้น โยคาวจโร พระโยคาวจร เสวติ ย่อมเสพ ธมฺเม ซึ่งธรรมท. เสวิตพฺเพ อันควรเสพ, น เสวติ ย่อมไม่เสพ ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อเสวิตพฺเพ อันไม่ควรเสพ. ภชติ ย่อมคบ ธมฺเม ซึ่งธรรมท. ภชิตพฺเพ ที่ควรคบ, น ภชติ ย่อมไม่คบ ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อภชิตพฺเพ ที่ไม่ควรคบ.[4]

เอวํ โข, มหาราช, อปิลาปนลกฺขณา สตี’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ อปิลาปนลกฺขณา มีการไม่ลืมเลือนเป็นลักษณะ เอวํ โข อย่างนี้แล” ดังนี้

‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา” ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส ภณฺฑาคาริโก ราชานํ จกฺกวตฺตึ สายํ ปาตํ ยสํ สราเปติ เอตฺตกา, เทว, เต หตฺถี,  เอตฺตกา อสฺสา, เอตฺตกา รถา, เอตฺตกา ปตฺตี, เอตฺตกํ หิรญฺญํ, เอตฺตกํ สุวณฺณํ, เอตฺตกํ   สาปเตยฺยํ, ตํ เทโว สรตูติ รญฺโญ สาปเตยฺยํ อปิลาเปติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าวแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ภณฺฑาคาริโก ขุนคลัง[5]  รฃฺโฃ ของพระราชา จกฺกวตฺติสฺส ผู้พระจักรพรรดิ  ราชานํ ยังพระราชา จกฺกวตฺตึ ผู้พระจักรพรรดิ  สราเปติ ย่อมให้ทรงระลึก ยสํ ซึ่งพระราชอิสริยยศ สายํ ในเวลาเย็น ปาตํ ในเวลาเช้า, อิติ ว่า “เทว ขอเดชะ หตฺถี ช้างท.เอตฺตกา มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ สนฺติ มีอยู่, อสฺสา ม้าท. เอตฺตกา มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ สนฺติ มีอยู่, รถา รถท. เอตฺตกา มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ สนฺติ มีอยู่, ปตฺตี พลเดินเท้าท. เอตฺตกา มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ สนฺติ มีอยู่, หิรฃฺฃํ เงิน เอตฺตกํ มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ อตฺถิ มีอยู่, สุวณฺณํ ทอง เอตฺตกํ มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ อตฺถิ มีอยู่, สาปเตยฺยํ  สมบัติอันเป็นของพระองค์ เอตฺตกํ มีประมาณเท่านี้ เต ของพระองค์ อตฺถิ มีอยู่, เทโว พระองค์ผู้สมมุติเทพ สรตุ ขอจงทรงระลึก ตํ สาปเตยฺยํ ซึ่งสมบัติอันเป็นของพระองค์นั้นเถิด” ดังนี้  อปิลาเปติ ย่อมไม่ลืมเลือน สาปเตยฺยํ ซึ่งสมบัติส่วนพระองค์ รฃฺโฃ ของพระราชา ยถา ฉันใด,

เอวเมว โข, มหาราช, สติ อุปฺปชฺชมานา กุสลากุสลสาวชฺชานวชฺชหีนปฺปณีตกณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาคธมฺเม อปิลาเปติอิเม  จตฺตาโร สติปฏฺฐานา, อิเม จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา, อิเม จตฺตาโร อิทฺธิปาทา,      อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ, อิมานิ ปญฺจ พลานิ, อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา, อยํ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค, อยํ สมโถ, อยํ วิปสฺสนา, อยํ วิชฺชา, อยํ วิมุตฺตีติฯ ตโต   โยคาวจโร เสวิตพฺเพ ธมฺเม เสวติ, อเสวิตพฺเพ ธมฺเม น เสวติฯ ภชิตพฺเพ ธมฺเม ภชติ, อภชิตพฺเพ ธมฺเม  น ภชติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ  อุปฺปชฺชมานา  เมื่อเกิดขึ้น อปิลาเปติ ย่อมไม่ลืมเลือน กุสลากุสล, สาวชฺชานวชฺช, หีนปฺปณีต, กณฺหสุกฺก,   สปฺปฏิภาคธมฺเม ซึ่งธรรมที่เป็นกุศล ควรเสพ ธรรมที่เป็นอกุศล ไม่ควรเสพ, ธรรมที่มีโทษ  เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมที่เลว เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ประณีต เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมที่ดำ เป็นอกุศลไม่ควรเสพ ธรรมที่ขาว เป็นกุศลควรเสพ, ธรรมไม่เหมาะสม เป็นอกุศลไม่ควรเสพ และธรรมเหมาะสมเป็นกุศลควรเสพท. อิติ ว่า “สติปฏฺฅานา สติปัฏฐาน ท. จตฺตาโร สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, สมฺมปฺปธานา, สัมมัปปธานท. จตฺตาโร สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, อิทฺธิปาทา อิทธิบาท จตฺตาโร สี่ อิเม เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, อินฺทฺริยานิ  อินทรีย์ท. ปญฺจอิมานิ เหล่านี้เป็นกุศลควรเสพ, พลานิ พละท. ปญฺจอิมานิ เหล่านี้ เป็นกุศลควรเสพ, โพชฺฌงฺคา  โพชฌงค์ท. สตฺตอิเม เหล่านี้เป็นกุศลควรเสพ, อริโย มคฺโค อริยมรรค อฏฺฅงฺคิโก อันประกอบด้วยองค์ ๘ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, สมโถ สมถะ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, วิปสฺสนา วิปัสสนา อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, วิชฺชา วิชชา อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ, วิมุตฺติ  วิมุตติ อยํ นี้ เป็นกุศลควรเสพ” ดังนี้. เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.[6]

เอวํ โข, มหาราช, อปิลาปนลกฺขณา สตี’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ อปิลาปนลกฺขณา มีการไม่ลืมเลือนเป็นลักษณะ เอวํ โข อย่างนี้แล” ดังนี้.

‘‘กถํ, ภนฺเต, อุปคฺคณฺหนลกฺขณา  สตี’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า  สติ สติ อุปคฺคณฺหนลกฺขณา   มีการเข้าไปเลือกถือเอาเป็นลักษณะ กถํ เป็นอย่างไร ภนฺเต พระคุณเจ้า "[7] ดังนี้.

‘‘สติ, มหาราช, อุปฺปชฺชมานา หิตาหิตานํ ธมฺมานํ คติโย สมนฺเวติ อิเม ธมฺมา หิตา, อิเม ธมฺมา อหิตาฯ อิเม ธมฺมา   อุปการา, อิเม ธมฺมา อนุปการาติฯ ตโต โยคาวจโร อหิเต ธมฺเม อปนุเทติ, หิเต ธมฺเม อุปคฺคณฺหาติฯ อนุปกาเร ธมฺเม อปนุเทติ, อุปกาเร ธมฺเม อุปคฺคณฺหาติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺเชสิ   ทูลวิสัชชนา อิติ ว่ามหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ อุปฺปชฺชมานา  เมื่อเกิดขึ้น  สมนฺเวติ ย่อมรู้ด้วยดี [8] คติโย ซึ่งความเป็นไป[9] ธมฺมานํ แห่งธรรมท. หิตาหิตานํ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูล และไม่ใช่เป็นประโยชน์เกื้อกูล อิติ ว่า “อิเม ธมฺมา  ธรรมท.เหล่านี้ หิตา เป็นประโยชน์เกื้อกูล,  อิเม ธมฺมา ธรรมท. เหล่านี้ อหิตา ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล. อิเม ธมฺมา  ธรรมท. เหล่านี้ อุปการา มีอุปการะ, อิเม ธมฺมา ธรรมท.เหล่านี้ อนุปการา   ไม่มีอุปการะ” ดังนี้. ตโต แต่นั้น โยคาวจโร พระโยคาวจร อปนุเทติ ย่อมขจัดออก ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อหิเต ไม่ใช่ประโยชน์, อนุปเทติ ย่อมขจัดออก  ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อนุปกาเร  ไม่มีอุปการะ,   อุปคณฺเหติ ย่อมเข้าไปเลือกถือเอา  ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อุปกาเร มีอุปการะ” ดังนี้.[10]

เอวํ โข, มหาราช, อุปคฺคณฺหนลกฺขณา สตี’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ อุปคฺคณฺหนลกฺขณา มีการไม่เข้าไปไตร่ตรองแล้วถือเอาเป็นลักษณะ เอวํ โข อย่างนี้แล” ดังนี้.

‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมาดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส ปริณายกรตนํ รญฺโญ หิตาหิเต ชานาติ อิเม รญฺโญ หิตา, อิเม อหิตาฯ อิเม อุปการา, อิเม อนุปการาติฯ ตโต อหิเต อปนุเทติ, หิเต อุปคฺคณฺหาติฯ อนุปกาเร อปนุเทติ, อุปกาเร อุปคฺคณฺหาติฯ
เถโร อ.พระเถระ วิสชฺเชสิ ทูลวิสัชชนาถวาย อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปริณายกรตนํ ปริณายกแก้ว[11] รฃฺโฃ ของพระราชา จกฺกวตฺติสฺส ผู้พระจักรพรรดิ ชานาติ ย่อมรู้จัก หิตาหิเต ซึ่งประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์ รฃฺโฃ ของพระราชา อิติ ว่า “อิเม ธมฺมา  ธรรมท.เหล่านี้ หิตา เป็นประโยชน์, อิเม  ธมฺมา ธรรมท. เหล่านี้ อหิตา ไม่ใช่ประโยชน์,  อิเม ธมฺมา ธรรมท.เหล่านี้ อุปการา  มีอุปการะ, อิเม ธมฺมา ธรรมท. เหล่านี้ อนุปการา ไม่มีอุปการะ" ดังนี้. ตโต แต่นั้น โส ปริณายกรตนํ ปริณายกแก้วนั้น อปนุเทติ ย่อมขจัด อหิเต ซึ่งธรรมไม่มีประโยชน์ท., อุปคฺคณฺหาติ ย่อมเลือกถือเอา หิเต ซึ่งธรรมมีประโยชน์ท., อนุปเทติ ย่อมขจัด อนุปกาเร ซึ่งธรรมไม่มีอุปการะท., อนุปคฺคณฺหาติ ย่อมเลือกถือเอา อุปกาเร ซึ่งธรรมมีอุปการะท. ยถา ฉันใด,[12]

เอวเมว โข, มหาราช, สติ อุปฺปชฺชมานา หิตาหิตานํ ธมฺมานํ คติโย สมนฺเวติ อิเม ธมฺมา หิตา, อิเม ธมฺมา อหิตาฯ อิเม ธมฺมา อุปการา, อิเม ธมฺมา อนุปการาติฯ ตโต โยคาวจโร อหิเต ธมฺเม อปนุเทติ, หิเต ธมฺเม อุปคฺคณฺหาติฯ อนุปกาเร ธมฺเม อปนุเทติ, อุปกาเร ธมฺเม อุปคฺคณฺหาติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ  อุปฺปชฺชมานา  เมื่อเกิดขึ้น  สมนฺเวติ ย่อมรู้ด้วยดี คติโย ซึ่งความเป็นไป ธมฺมานํ แห่งธรรมท. หิตาหิตานํ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูล และไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล อิติ ว่า อิเม ธมฺมา ธรรมท.เหล่านี้ หิตา มีประโยชน์เกื้อกูล, อิเม ธมฺมา อ.ธรรมท. เหล่านี้ อหิตา ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล. อิเม ธมฺมา ธรรมท. เหล่านี้ อุปการา มีอุปการะ, อิเม ธมฺมา ธรรมท.เหล่านี้ อนุปการา ไม่มีอุปการะดังนี้.  ตโต แต่นั้น โยคาวจโร พระโยคาวจร อปนุเทติ ย่อมขจัดออก ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อหิเต ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล, อนุปเทติ ย่อมขจัดออก   ธมฺเม ซึ่งธรรมท. อนุปกาเร ไม่มีอุปการะอุปคณฺเหติ ย่อมเข้าไปไตร่ตรองถือเอา ธมฺเม ซึ่งธรรมท.อุปกาเร อันมีอุปการะ เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

เอวํ โข, มหาราช, อุปคฺคณฺหนลกฺขณา สติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติ สติ อุปคฺคณฺหนลกฺขณา มีการเข้าไปไตร่ตรองถือเอาเป็นลักษณะ เอวํ โข ฉะนี้แล
ภาสิตมฺเปตํ, มหาราช, ภควตา สติญฺจ ขฺวาหํภิกฺขเวสพฺพตฺถิกํ วทามี’’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร  เอตํ วจนํ ปิ แม้ พระดำรัสนี้ ภควตา อันพระผู้มีพระภาค ภาสิตํ  ตรัสแล้ว   อิติ ว่าดังนี้ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุท. อนึ่ง อหํ เราตถาคต วทามิ ย่อมเรียก สตึ ซึ่งสติ โข แล สพฺพตฺถิกํ ว่าเป็นธรรมมีประโยชน์ในกิจทั้งปวง"[13] .

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อโวจ ได้ตรัสแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน ตฺวํ ท่าน อสิ ย่อมเป็น กลฺโล ผู้สามารถแก้ปัญหา ดังนี้.

สติลกฺขณปญฺโห เตรสโมฯ
สติลกฺขณปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะแห่งสติ
เตรสโม ที่สิบสาม นิฏฺฅิโต จบแล้ว.

v




[1] ไม่เลอะเลือน ตามศัพท์แปลว่า ไม่เลื่อนลอย กล่าวคือ หยั่งลงสู่อารมณ์ตามที่ได้เห็นได้รับแล้วจับไว้. อรรถกถาอภิธรรมและฏีกาอธิบายว่า ไม่เหมือนกับน้ำเต้าที่ลอยคว้างเหนือผิวน้ำ ได้แก่ การหยั่งลง เข้าไปสู่สภาวะของอารมณ์นั้น โดยอาการที่ระลึกนั่นเอง. บางแห่งอธิบายว่า ได้แก่ การพูดซ้ำ โดยถือว่า อปิ + ลป พูด + เณ จุราทิคณะ มีอรรถว่า พูดย้ำ ได้แก่ เตือน. อรรถนี้ก็ใช้ได้ เพราะสอดคล้องกับอุปมาที่ท่านยกมาประกอบ.
[2] สปฺปฏิภาค ตัดเป็น สปฺปฏิภาคอปฺปฏิภาค ตัดบทว่า ปฏิภาค ที่เหมือนกันออกบทหนึ่งโดยสรูเปกเสสนัย.
[3]แปลตามที่อรรถกถามิลินท์แนะให้ประกอบความว่า กุสลากุสล = อิทํ กุสลํ เสวิตพฺพํ, อิทํ อกุสลํ น เสวิตพฺพํ, สาวชฺชานวชฺช = อิทํ สาวชฺชํ อกุสลํ น เสวิตพฺพํ, อิทํ อนวชฺชํ อกุสลํ เสวิตพฺพํ, หีนปฺปณีตํ = อิทํ หีนํ อกุสลํ น เสวิตพฺพํ, อิทํ ปณีตํ กุสลํ เสวิตพฺพํ,กณฺหสุกฺก = อิทํ กณฺหํ อกุสลํ น เสวิตพฺพํ, อิทํ สุกฺกํ กุสลํ เสวิตพฺพํ สปฺปฏิภาคํ = อิทํ สปฺปฏิภาคํ กุสลํ เสวิตพฺพํ, อิทํ อปฺปฏิภาคํ อกุสลํ น เสวิตพฺพํ ธมฺเม อปิลาเปติ “อิม จตฺตาโร สติปฏฺฅานา = กุสลา เสวิตพฺพา, อิเม จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา = กุสลา เสวิตพฺพา ... อยํ วิมุตฺติ = กุสลา เสวิตพฺพา”ติ.
การประกอบความนี้ถือเอาโดยหลักที่ว่า ทวันทวสมาส จะต้องนำศัพท์ที่เหลือเข้าประกอบด้วยทุกครั้ง ในที่นี้ได้แก่ คำว่า อิทํ ... เสวิตพฺพํและ อิทํ ... น เสวิตพฺพํ. เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ภาพรวมที่ชัดเจนของสติที่ว่า ไม่เลอะเลือนไม่สับสนในสภาวะของอารมณ์และกิจที่ควรทำในอารมณ์แต่ละชนิดที่ได้รับมาว่า อันนี้เป็นกุศล ควรเสพ นี้เป็นอกุศล ไม่ควรเสพ.และในที่สุดก็จะเข้าถึงกุศลโดยไม่เลอะเลือนว่า ธรรมที่เป็นกุศลคือสติปัฏฐานเป็นต้นเท่านั้นควรเสพ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า “สติ เตสํ นิวารณํ สติคอยห้ามกระแสแห่งกิเลสนั้นๆ” และบาฬีที่พระนาคเสนยกมาว่า สพฺพตฺถิกํ สตึ วทามิ เราขอเรียกว่า สติมีประโยชน์ในกุศลทั้งปวง หมายถึง เป็นธรรมที่เกิดขึ้นก่อนโดยไม่ให้หลงเลือนในธรรมแต่ละอย่าง.
[4] ประโยคนี้แสดงให้เห็นว่า สติมีหน้าที่ให้สัมปยุตธรรมไม่เลื่อนลอยคือเข้าไปถึงกุศลธรรมเหล่านี้โดยอาการที่ไม่เสื่อมหายเลอะเลือนไปจากจิตของพระโยคาวจรนั้นแล้วให้เสพธรรมที่ควรเสพกล่าวคือสติปัฏฐานเป็นต้น.
[5] บุรุษผู้รักษาซึ่งอาคารอันเต็มแล้วด้วยพัสดุ กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ท้องพระคลังหลวง
[6] ประโยคนี้แสดงว่า ขุนคลังผู้มีหน้าที่ต้องทูลถวายรายงานให้พระราชาได้ทรงระลึกถึงพระราชอิสิริยยศ จะต้องไม่เลอะเลือนคือเข้าถึงสมบัติเหล่านี้โดยอาการที่สามารถจดจำได้มั่นคง. สติเปรียบได้กับขุนคลังนี้ โดยอาการที่ไม่เลอะเลือนในกุศลธรรมอันเกิดจากการจดจำได้มั่นคง. เมื่อระลึกได้ไม่เลอะเลือนแล้ว ก็จะเลี่ยงอกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรม.
[7] อุปคฺคณฺหน อุป = อุปจารยิตฺวา เข้าไปไตร่ตรอง + คห ถือเอา ในอรรถกถาแก้เป็น ยถาทิฏฺฅํ ยถาคหิตํ อุปจารยิตฺวา คหณฏฺเฅน อุปคณฺหณลกฺขณา สติ หมายถึง สติมีสภาพที่เลือกเฟ้นอารมณ์ตามที่ได้ประสบมาไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลแล้วถือเอาเฉพาะกุศล ละทิ้งอกุศลไป.
[8] สมนฺเวติ สํ + อนุ + อิ  ไป +เอ +ติ.  โดนทั่วไปแปลว่า ติดตามไป แต่ในที่นี้ อิ ธาตุ มีอรรถว่า ไป สามารถมีอรรถว่า รู้ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า รู้ดี. กล่าวคือ รู้เหตุและผลของกุศลอกุศล.
[9] คติ คือ โดยเหตุแห่งการเกิดขึ้นและโดยผลอันเป็นความสำเร็จ หมายความว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏโดยการเกิดขึ้น ว่า ธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดเพราะเหตุเหล่านี้ และ ปัจจัยเหล่านี้"  โดยผลว่า "ธรรมเหล่านี้ ให้เกิดผล เผล็จผลอันนี้" สติมีสภาพที่แยกแยะคติแห่งกุศลและอกุศลเหล่านี้แล้วถือเอาแต่กุศลและขจัดอกุศล.
[10] ข้อความนี้ช่วยส่องสภาวะของสติได้ว่า สติ เป็นสภาพที่รู้จักแยกแยะกุศลและอกุศลโดยเหตุและผล แล้วคัดกรองว่า กุศลควรถือเอา อกุศลควรขจัดออก. ด้วยเหตุนั้น สติ จึงเรียกว่า อุปคฺคณฺหณลกฺขณา มีการเข้าไปไตร่ตรองอารมณ์แล้วถือเอาเป็นลักษณะ (อุปจารยิตฺวา คณฺหณฏฺเฅน อุปคฺคหณลกฺขณา สติ).
[11] ปริณายก หมายถึง หัวหน้าหน่วยรักษาพระองค์ ในฉบับไทย มีปาฐะว่า โทวาริกํ แปลว่า ผู้เฝ้าประตู .
[12] หิต  อุปการ ศัพท์ ในอรรถกถาอธิบายว่า อาย ความเจริญ เหมือนกัน  แสดงว่า หิต และ อุปการ เป็นไวพจน์กัน. อนึ่ง เกี่ยวกับศัพท์นี้ หมายถึง วัตถุ ก็ได้ บุคคล ก็ได้ ซึ่งจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญแก่พระราชา. ปริณายก ผู้มีกิจรักษาพระราชานั้น ต้องเป็นผู้รู้ความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้อย่างดี แล้วสกัดกั้นสิ่งไม่ดีน้อมแต่สิ่งที่ดีเข้าไปแก่พระราชาเท่านั้น สติ ก็เช่นกัน ย่อมรู้จักว่าอะไรดีมีประโยชน์อุปการะหรือไม่ แล้วถือเอาแต่ธรรมฝ่ายดี.
[13]  บาฬีนี้ตรัสถึงการปรับความสมดุลของการเจริญสัมโพชฌงค์ โดยปัญญา วิริยะและปีติ ช่วยปรับจิตที่กำลังหดหู่ให้มีกำลัง แต่ปัสสัทธิ อุเบกขาและสมาธิ ช่วยปรับจิตที่กำลังฟุ้งซ่านให้อ่อนกำลัง ส่วนสติเป็นธรรมที่จำต้องใช้ในกิจคือการปรับสมดุลทั้งสองของโพชฌังคธรรม ๖ ที่เหลือ อรรถกถาของสูตรนี้อธิบายว่า สติเป็นสิ่งที่ต้องมีในกิจทั้งปวง กล่าวคือ เป็นธรรมช่วยเหลือของโพชฌังคธรรม ๖ ที่เหลือ คือ ปัญญา วิริยะ  ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขาที่ทำหน้าที่หลักในการปรับสมดุลของการเจริญวิปัสสนาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ให้ฟุ้งซ่านเกินและไม่หดหู่เกิน  ถ้าขาดสติ การปรับสมดุลดังกล่าวไม่อาจทำให้สำเร็จได้ เปรียบเหมือนเกลือและเครื่องเทศที่คละเคล้าอยู่ในอาหารที่ปรุงขึ้น ช่วยทำให้อาหารมีรสกลมกล่อม และเปรียบเหมือนอำมาตย์ผู้ขวนขวายในกิจทั้งปวงของพระราชา เช่น การทหาร การปรึกษาและการเจรจาความบ้านเมือง ช่วยทำให้กิจเหล่านี้ของพระราชาให้สำเร็จได้.
จากบาฬีนี้เปรียบให้เห็นว่า สติที่มีลักษณะไม่เลอะเลือนในกุศลมีสติปัฏฐานเป็นต้นว่าเป็นธรรมที่ควรเสพและที่มีลักษณะพิจารณาเหตุผลของกุศลและอกุศลแล้วกลั่นกรองเอาแต่กุศล จึงเสมือนหนึ่งผู้ช่วยของพระโยคารวจรที่ช่วยตักเตือนให้ระลึกและกลั่นกรองให้ถือเอาแต่กุศลที่มีประโยชน์และอุปการะเท่านั้น หากสติไม่เกิด ก็จะไม่ระลึกถึงและไม่รู้จักว่า อะไรเป็นประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ อะไรเป็นอุปการะไม่อุปการะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่ถือเอากุศลแต่ไปถือเอาอกุศลที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะ สติ จึงเป็นธรรมที่จำต้องมีในกิจคือกุศลธรรมทั้งปวงอย่างอื่นมีสติปัฏฐานเป็นต้นโดยเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น