วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา ๑๐ : ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีความเลื่อมใสเป็นลักษณะ

๑๐. สมฺปสาทนลกฺขณสทฺธาปญฺโห
๑๐.ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีความเลื่อมใสเป็นลักษณะ.

๑๐. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, กึลกฺขณา สทฺธา’’ติ? ‘‘สมฺปสาทนลกฺขณา จ, มหาราช, สทฺธา, สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา จา’’ติฯ
๑๐. ราชา พระราชา อาห ตรัสถาม อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน, สทฺธา ศรัทธา[๑] กึลกฺขณา มีอะไรเป็นลักษณะ ดังนี้? เถโร พระเถระ อาห ทูล อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สทฺธา ศรัทธา สมฺปสาทนลกฺขณา มีการทำให้ผ่องใสด้วยดีเป็นลักษณะ ด้วย สมฺปกฺขนฺทนลกฺขณา มีการทำให้แล่นไปด้วยดีเป็นลักษณะ ด้วย


‘‘กถํ, ภนฺเต, สมฺปสาทนลกฺขณา สทฺธา’’ติ? ‘‘สทฺธา โข, มหาราช, อุปฺปชฺชมานา นีวรเณ วิกฺขมฺเภติ, วินีวรณํ จิตฺตํ โหติ อจฺฉํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํฯ เอวํ โข, มหาราช, สมฺปสาทนลกฺขณา สทฺธา’’ติฯ
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถามแล้ว อิติ ว่า ภนฺเต พระคุณเจ้า,  สทฺธา  ศรัทธา สมฺปสาทนลกฺขณา มีการทำจิตให้ไม่ขุ่นมัวเป็นลักษณะ กถํ อย่างไร ? ดังนี้ เถโร พระเถระ อาห ทูลวิสัชนาแล้ว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สทฺธา ศรัทธา โข แล อุปฺปชฺชมานา เมื่อเกิด นีวรเณ ย่อมยังนิวรณ์ท. วิกฺขมฺเภติ ให้เพิกออก,[๒] จิตฺตํ.จิต วินีวรณํ มีนิวรณ์อันปราศแล้ว  อจฺฉํ  เป็นธรรมชาติใสสะอาด วิปฺปสนฺนํ เป็นธรรมชาติผ่องใส อนาวิลํ เป็นธรรมชาติไม่ขุ่นมัว โหติ ย่อมเป็น,[๓] มหาราช มหาบพิตร สทฺธา ศรัทธา  สมฺปสาทนลกฺขณา มีการทำให้ผ่องใสเป็นลักษณะ เอวํ อย่างนี้ ดังนี้.

‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา อ.พระราชา อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า ตฺวํ อ.ท่าน กโรหิ จงกระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา” ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, ราชา จกฺกวตฺตี จตุรงฺคินิยา เสนาย สทฺธึ อทฺธานมคฺคปฺปฏิปนฺโน ปริตฺตํ อุทกํ ตเรยฺย, ตํ อุทกํ หตฺถีหิ จ อสฺเสหิ จ รเถหิ จ ปตฺตีหิ จ ขุภิตํ ภเวยฺย อาวิลํ ลุฬิตํ กลลีภูตํฯ อุตฺติณฺโณ จ ราชา จกฺกวตฺตี มนุสฺเส อาณาเปยฺย ปานียํ, ภเณ, อาหรถ, ปิวิสฺสามีติ, รญฺโญ จ อุทกปฺปสาทโก มณิ ภเวยฺยฯ
เถโร พระเถระ อาห ทูล อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ราชา ราชา จกฺกวตฺตี ผู้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อทฺธานมคฺคปฺปฏิปนฺโน เสด็จไปสู่หนทางอันไกล สทฺธิํ พร้อม เสนาย ด้วยกองทัพ จตุรงฺคินิยา อันประกอบด้วยองค์ ๔ ตเรยฺย พึงข้าม อุทกํ ซึ่งน้ำ ปริตฺตํ อันน้อย, ตํ อุทกํ น้ำนั้น ขุภิตํ เป็นน้ำอันกระเพื่อมแล้ว  อาวิลํ เป็นน้ำมัว ลุฬิตํ เป็นน้ำขุ่น กลลีภูตํ เป็นน้ำมีโคลนตม หตฺถีหิ จ ด้วยช้างท. ด้วย  อสฺเสหิ จ ด้วยม้าท. ด้วย รเถหิ จ ด้วยรถท. ด้วย, ปตฺตีหิ จ ด้วยพลเดินเท้าท. ด้วย โหติ ย่อมเป็น.   อนึ่ง ราชา พระราชา จกฺกวตฺตี ผู้พระจักรพรรดิ อุตฺติณฺโณ ผู้เสด็จข้ามแล้ว  อาณาเปยฺย พึงตรัสสั่ง[๔] มนุสฺเส กะมนุษย์ท. อิติ ว่า ภเณ แน่ะพนาย[๕] ตุมฺเห เธอท. อาหรถ จงนำมา ปานียํ  ซึ่งน้ำดื่ม, อหํ เรา ปิวิสฺสามิ จักดื่ม ดังนี้. ก็ มณิ แก้วมณี อุทกปฺปสาทโก อันยังน้ำให้ใส รญฺโญ ของพระราชา ภเวยฺย พึงมีอยู่.

เอวํ เทวาติ โข เต มนุสฺสา รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส ปฏิสฺสุตฺวา ตํ อุทกปฺปสาทกํ มณึ อุทเก ปกฺขิเปยฺยุํ, ตสฺมึ อุทเก ปกฺขิตฺตมตฺเต สงฺขเสวาลปณกํ วิคจฺเฉยฺย,  กทฺทโม จ  สนฺนิสีเทยฺย, อจฺฉํ ภเวยฺย อุทกํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํฯ ตโต รญฺโญ จกฺกวตฺติสฺส ปานียํ อุปนาเมยฺยุํปิวตุ, เทว, ปานียนฺติฯ
เต มนุสฺสา มนุษย์ท. เหล่านั้น โข แล ปฏิสฺสุตฺวา ทูลสนองพระดำรัสแล้ว รญโญ แด่พระราชา[๖] จกฺกวตฺติสฺส ผู้พระจักรพรรดิ อิติ ว่า เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ เอวํ พระเจ้าข้า ดังนี้ ปกฺขิเปยฺยุํ พึงหย่อน มณึ ซึ่งแก้วมณี อุทกปฺปสาทกํ อันยังน้ำให้ใส ตํ นั้น อุทเก ในน้ำ, มณิสฺมึ ครั้นเมื่อแก้วมณี ปกฺขิตฺตมตฺเต เป็นของสักว่าอันมนุษย์ใส่แล้ว อุทเก ในน้ำ ตสฺมึ นั้น สนฺเต มีอยู่, สงฺขเสวาลปณกํ แหน สาหร่าย และจอก[๗] วิคจฺเฉยฺย พึงปราศไป ด้วย, กทฺทโม  โคลนตมด้วย สนฺนิสีเทยฺย พึงนอนก้น ด้วย, อุทกํ น้ำ อจฺฉํ เป็นน้ำสะอาด วิปฺปสนฺนํ ใส อนาวิลํ ไม่ขุ่น ภเวยฺย พึงเป็น.  ตโต แต่กาลนั้น เต มนุสฺสา มนุษย์ท.เหล่านั้น อุปนาเมยฺยุํ พึงน้อมเข้าไป ปานียํ ซึ่งน้ำดื่ม รญฺโญ แด่พระราชา จกฺกวตฺติสฺส ผู้พระจักรพรรดิ วจเนน ด้วยคำ อิติ ว่า เทว ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ ตฺวํ พระองค์ ปิวตุ ขอจงเสวย ปานียํ ซึ่งน้ำอันบุคคลพึงดื่ม” ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, อุทกํ, เอวํ จิตฺตํ ทฏฺฐพฺพํ, ยถา เต มนุสฺสา, เอวํ โยคาวจโร ทฏฺฐพฺโพ, ยถา สงฺขเสวาลปณกํ กทฺทโม จ, เอวํ กิเลสา ทฏฺฐพฺพาฯ ยถา อุทกปฺปสาทโก มณิ, เอวํ สทฺธา ทฏฺฐพฺพา,
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อุทกํ น้ำ โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, จิตฺตํ จิต ตยา อันพระองค์ ทฏฺฐพฺพํ พึงทรงเห็น เอวํ ฉันนั้น. เต มนุสฺสา มนุษย์ท. เหล่านั้น โหนฺติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, โยคาวโร พระโยคาวจร ตยา อันพระองค์ ทฏฺฐพฺโพ พึงทรงเห็น เอวํ ฉันนั้น, สงฺขเสวาลปณกํ จ แหน สาหร่ายและจอก ด้วย กทฺทโม จ โคลนตม ด้วย โหนฺติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสท. ตยา อันพระองค์ ทฏฺฐพฺพา  พึงทรงเห็น เอวํ ฉันนั้น, มณิ แก้วมณี   อุทกปฺปสาทโก อันยังน้ำให้ใส โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, สทฺธา ศรัทธา ตยา อันพระองค์  ทฏฺฐพฺพา พึงทรงเห็น เอวํ ฉันนั้น,

ยถา อุทกปฺปสาทเก มณิมฺหิ อุทเก ปกฺขิตฺตมตฺเต สงฺขเสวาลปณกํ วิคจฺเฉยฺย, กทฺทโม จ สนฺนิสีเทยฺย, อจฺฉํ ภเวยฺย อุทกํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ, เอวเมว โข, มหาราช, สทฺธา อุปฺปชฺชมานา นีวรเณ วิกฺขมฺเภติ, วินีวรณํ จิตฺตํ โหติ อจฺฉํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ, เอวํ โข, มหาราช, สมฺปสาทนลกฺขณา สทฺธา’’ติฯ
มณิสฺมิํ ครั้นเมื่อแก้วมณี  ปกฺขิตฺตมตฺเต เป็นของสักว่าอันมนุษย์ใส่แล้ว อุทเก ในน้ำ ตสฺมึ นั้น สนฺเต มีอยู่,    สงฺขเสวาลปณกํ แหน สาหร่าย และจอก วิคจฺเฉยฺย พึงปราศไป ด้วย, กทฺทโม โคลนตม สนฺนิสีเทยฺย พึงนอนก้น ด้วย, อุทกํ น้ำ อจฺฉํ เป็นน้ำสะอาด วิปฺปสนฺนํ เป็นน้ำใส อนาวิลํ เป็นน้ำไม่ขุ่น  ภเวยฺย  พึงเป็น ยถา ฉันใด, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สทฺธา ศรัทธา อุปฺปชฺชมานา เมื่อเกิด นีวรเณ ยังนิวรณ์ท. วิกฺขมฺเภติ ย่อมให้เพิกออก, จิตฺตํ จิต วินีวรณํ มีนิวรณ์อันปราศแล้ว  อจฺฉํ  เป็นธรรมชาติสะอาด วิปฺปสนฺนํ เป็นธรรมชาติผ่องใส อนาวิลํ เป็นธรรมชาติไม่ขุ่นมัว โหติ ย่อมเป็น เอวํ ฉันนั้น  เอว นั่นเทียว โข แล, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สทฺธา ศรัทธา สมฺปสาทนลกฺขณา มีการทำให้ผ่องใสเป็นลักษณะ เอวํ อย่างนี้ โข แล” ดังนี้.

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา อ.พระราชา อโวจ ได้ตรัสแล้ว  อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน, ตฺวํ ท่าน กลฺโล เป็นผู้สามารถแก้ปัญหา อสิ ย่อมเป็น ดังนี้.

สมฺปสาทนลกฺขณสทฺธาปญฺโห ทสโมฯ
สมฺปสาทนลกฺขณสทฺธาปญฺโห
อ.ปัญหาเกี่ยวกับศรัทธาที่มีความเลื่อมใสเป็นลักษณะ
ทสโม ที่สิบ นิฏฺฐิโต จบแล้ว.

v





[๑] คำว่า สทฺธา หมายถึง ธรรมชาติที่เชื่อ  คือ ดำเนินไปสู่พระรัตนตรัย,กรรมและผลของกรรม.  สํ + ธา = เชื่อถือ (ธา = ทรงไว้ ถ้ามีสํเป็นบทหน้าจะมีอรรถว่า สทฺทหน เชื่อ) + อ ปัจจัย กัตตุสาธนะ.
            อีกนัยหนึ่ง หมายถึง ธรรมชาติที่ทรงอารมณ์มีคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นในตนด้วยดี เช่นเดียวกับ น้ำนิ่ง ใสสะอาด ย่อมทรงรูปนิมิต (เงา) คือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้นได้ ฉะนั้น.
[๒] วิกฺขมฺเภติ ย่อมให้เพิกออก มาจาก วิ ปราศ + ขภิ ปฏิพทฺธ ผูกพัน + เณ การิต. โดยทั่วไป วิกฺขมฺภ แปลว่า ข่มไว้ ในที่นี้แปลว่า ยังนิวรณ์ให้เพิกออกคือให้หลุดไป  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อความข้างหน้าว่า วินีวรณ ปราศจากนิวรณ์. หมายถึง การปราศจากนิวรณ์โดยอาการที่ถูกเพิกออกไปด้วยอำนาจศรัทธาชั่วขณะเท่านั้น มิได้ด้วยกำลังแห่งสมาธิ.
[๓] ปสาท แปลว่า ความเลื่อมใส มาจาก ป + สท ธาตุ = สาท ความยินดี เมื่อมี ป  อุปสัค เป็นบทหน้า จะมีอรรถว่า ใส, ไม่มีมลทิน, หมดจด, ไม่ขุ่นมัว หมายถึง ความขุ่นมัวคือความเศร้าหมองอันเกิดแต่นิวรณ์เป็นต้น แล้วจึงสามารถรับเอาคุณต่างๆ เข้าไว้ในตนได้ ด้วยเหตุนี้ ศรัทธาเมื่อเกิดแล้ว ทำจิตให้ผ่องใส ไม่ให้ขุ่นมัว บุคคลเมื่อมีจิตผ่องใสแล้ว จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรมและปรารภภาวนา เหมือนน้ำที่ใสและสะอาดแล้วจึงควรแก่การดื่มเป็นต้นได้ ฉะนั้น
[๔] คัมภีร์ธาตวัตถสังคหะแสดงว่า อาณาเปยฺย เป็นรูปสำเร็จของ อาณ ธาตุ ส่งไป + ณาเป การิตปัจจัย + เอยฺย ยังบุคคลให้ส่งไป. แต่ในธาตุปทีปิกาแสดงว่า เป็นจุราทิคณ และเป็น ณาเป ปัจจัยเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าเพ่งอรรถของธาตุแล้ว ก็ควรแปลว่า ยังบุคคลให้ส่งไป แต่หาได้ใจความที่ชัดเจนไม่. ท่านผู้แต่งหนังสือธาตุปทีปิกานั้นให้ทัสนะว่า  อาณ ธาตุที่ว่ามานี้ แท้จริงก็คือ อา + ญา แปลว่า รู้ยิ่ง, รู้ชัด นั่นเอง. รูปว่า อาณาเปติ นั้นคือ การิต หรือ เหตุกัตตุของอาชานาติ ซึ่งเป็นสุทธกัตตุนั้นแล". ด้วยมตินี้ อาณาเปยฺย ในที่นี้ จึงมีคำแปลโดยพยัญชนะว่า ยังบุคคลให้รู้ชัด และแปลโดยอรรถว่า "ออกคำสั่ง"
[๕] พนาย คือ คำขุนนางผู้ใหญ่เรียกผู้ดีซึ่งอยู่ในบังคับตน (พจ.ราช)
[๖] คำว่า รญฺโญ นี้เป็นจตุตถีวิภัตติ แปลเข้ากับบทว่า ปฏิสฺสุตฺวา โดยปฏิสฺสวสมฺพนฺธน “ให้คำตอบ”. ส่วน ปฏิสฺสุตฺวา มาจาก ปติ + สุ + ตฺวา.  สุธาตุ เมื่อมี ปติ เป็นบทหน้า แปลว่า สมฺปฏิจฺฉิตฺวา รับคำแล้ว วตฺวา กล่าวแล้ว. 
[๗] สงฺข ได้แก่  สาหร่าย ที่มีรากยาว ใบมาก หรือแหน, เสวาล สาหร่ายทั่วไป, ปณก สาหร่ายที่มีลักษณะเหมือนแมลงภู่ หรือจอก (ธา. ๖๙๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น