วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มิลินทปัญหา อัทธานวรรคที่ ๒ (๓) ปัญหาเกี่ยวกับญาณและปัญญา

๓. ญาณปญฺญาปญฺโห
๓. ญาณปญฺญาปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับญาณและปัญญา

. ราชา อาห ‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยสฺส ญาณํ อุปฺปนฺนํ, ตสฺส ปญฺญา อุปฺปนฺนา’’ติ?
๓.ราชา พระราชา อาห  ตรัสถาม อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน   ญาณํ ญาณ อุปฺปนฺนํ เกิดขึ้น ยสฺส โยคาวจรสฺส แก่พระโยคาวจรใด, ปญฺญา ปัญญา อุปฺปนฺนา ก็เกิดขึ้น  ตสฺส  โยคาวจรสฺส แก่พระโยคาวจรนั้นหรือ?.

 ‘‘อาม, มหาราช, ยสฺส ญาณํ อุปฺปนฺนํ, ตสฺส ปญฺญา อุปฺปนฺนา’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาม ใช่ ญาณํ ญาณ อุปฺปนฺนํ เกิดขึ้น  ยสฺส แก่พระโยคาวจรใด, ปญฺญา ปัญญา อุปฺปนฺนา ก็เกิดขึ้น ตสฺส แก่พระโยคาวจรนั้น.[1]

‘‘กึ, ภนฺเต, ยญฺเญว ญาณํ สา เยว ปญฺญา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถาม  อิติ ว่า ญาณํ ญาณ ยํ เอว อันใด นั่นเทียว, สา = ตํ ญาณํ ญาณนั้น ปญฺญา เอว คือ ปัญญา หรือ ภนฺเต พระคุณเจ้า?.

‘‘อาม, มหาราช, ยญฺเญว ญาณํ สา เยว ปญฺญา’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาม ถูกต้องแล้ว ญาณํ  ญาณ ยํ เอว อันใดนั่นเทียว, สา = ตํ ญาณํ ญาณนั้น ปญฺญา เอวคือปัญญา.[2]

‘‘ยสฺส ปน, ภนฺเต, ตญฺเญว ญาณํ สา เยว ปญฺญา อุปฺปนฺนา, กิํ สมฺมุยฺเหยฺย โส, อุทาหุ น สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ทรงถาม อิติ ว่า ปน ก็ ตํ ญาณํ เอว ญาณนั้นนั่นแหละ สา  ปญฺญา เอว ที่ว่าเป็นปัญญา อุปฺปนฺนา เกิดขึ้น ยสฺส แก่พระโยคาวจรใด, โส  พระโยคาวจรนั้น สมฺมุยฺเหยฺย พึงหลงลืม กิํ หรือไม่, อุทาหุ หรือว่า น สมฺมุยฺเหยฺย ไม่พึงหลง ภนฺเต พระคุณเจ้า?.

‘‘กตฺถจิ, มหาราช, สมฺมุยฺเหยฺย, กตฺถจิ น สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส พระโยคาวจรนั้น สมฺมุยฺเหยฺย พึงหลง กตฺถจิ ในสิ่งบางอย่าง, สมฺมุยฺเหยฺย ไม่พึงหลง กตฺถจิ ในสิ่งบางอย่าง.

‘‘กุหิํ, ภนฺเต, สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถาม อิติ ว่า โส พระโยคาวจรนั้น สมฺมุยฺเหยฺย พึงหลง กุหิํในสิ่งไหน ภนฺเต พระคุณเจ้า.

‘‘อญฺญาตปุพฺเพสุ วา มหาราช สิปฺปฏฺฐาเนสุ, อคตปุพฺพาย วา ทิสาย, อสฺสุตปุพฺพาย วา นามปญฺญตฺติยา สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โส โยคาวจโร พระโยคาวจรนั้น สมฺมุยฺเหยฺย  พึงหลง สิปฺปฏฺฐาเนสุ ในศิลปวิทยา อญฺญาตปุพฺเพสุ วา ที่ไม่รู้แล้วในกาลก่อน  บ้าง, ทิสาย ในทิศ อคตปุพฺพาย วา ที่ไม่ได้ไปแล้วในกาลก่อนบ้าง นามปญฺญตฺติยา ในชื่อและบัญญัติ อสฺสุตปุพฺพาย อันไม่ได้ยินแล้วในกาลก่อน วา บ้าง ดังนี้.[3]

‘‘กุหิํ น สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถาม อิติว่า โส โยคาวจโร พระโยคาวจรนั้น น สมฺมุยฺเหยฺย ไม่พึงหลง กุหิํ ในสิ่งไหนหรือ ภนฺเต พระคุณเจ้า ดังนี้.

‘‘ยํ โข ปน, มหาราช, ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วาทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตหึ น สมฺมุยฺเหยฺยา’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ยํ กิจฺจํ กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, โส โยคาวจโร อ.พระโยคาวจรนั้น น สมฺมุยฺเหยฺย ไม่พึงหลงลืม ตหิํ =  ตสฺมิํ กิจฺเจ ในกิจนั้น ดังนี้.[4]

‘‘โมโห ปนสฺส, ภนฺเต, กุหึ คจฺฉตี’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถาม อิติว่า ปน ก็แต่ว่า โมโห ความหลง อสฺส ของพระโยคาวจรนั้น คจฺฉติ ย่อมไป กุหิํ = กิํ ฐานํ สู่ที่ไหนกันเล่า ภนฺเต พระคุณเจ้า?.

‘‘โมโห โข, มหาราช, ญาเณ อุปฺปนฺนมตฺเต ตตฺเถว นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โมโห ความหลง อสฺส ของพระโยคาวจรนั้น, ญาเณ ครั้นเมื่อญาณ อุปฺปนฺนมตฺเต เพียงเกิดขึ้นเท่านั้น สติ มีอยู่ นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในตัวพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละ.

‘‘โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ตฺวํ ขอพระคุณเจ้า กโรหิ นิมนต์ทำ โอปมฺมํ อุปมา.

‘‘ยถา, มหาราช, โกจิเทว ปุริโส  อนฺธการเคเห ปทีปํ อาโรเปยฺย, ตโต อนฺธกาโร นิรุชฺเฌยฺย, อาโลโก ปาตุภเวยฺยฯ เอวเมว โข, มหาราช, ญาเณ อุปฺปนฺนมตฺเต โมโห ตตฺเถว นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โกจิ เอว ปุริโส บุรุษบางคนนั่นเทียว อาโรเปยฺย พึงตาม ปทีปํ ซึ่งประทีป  อนฺธการเคเห ในเรือนมืด ตโต เพราะประทีปนั้น อนฺธกาโร ความมืด นิรุชฺเฌยฺย พึงดับไป, อาโลโก ความสว่าง ปาตุภเวยฺย พึงปรากฏ ยถา ฉันใด, ญาเณ ครั้นเมื่อญาณ อุปฺปนฺนมตฺเต เพียงเกิดขึ้นเท่านั้น สติ มีอยู่  โมโห ความหลง นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในตัวพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละ เอวํ เอว ฉันนั้นนั่นเทียว โข แล.[5]

‘‘ปญฺญา ปน, ภนฺเต, กุหิํ คจฺฉตี’’ติ?
ราชา พระราชา ปุจฺฉิ ตรัสถาม อิติ ว่า  ปน ก็แต่ว่า ปญฺญา ปัญญา คจฺฉติ ย่อมไป กุหิํ = กิํ ฐานํ สู่ที่ไหนกันเล่า ภนฺเต พระคุณเจ้า.

‘‘ปญฺญาปิ โข, มหาราช, สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วาทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ น นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร พระเถระ วิสชฺชิ วิสัชชนา อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺญาปิ โข แม้ปัญญาแล กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว, ปน แต่ว่า  ยํ กิจฺจํ กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป.[6]

‘‘ภนฺเต นาคเสน, ยํ ปเนตํ พฺรูสิ ปญฺญา สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วาทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ น นิรุชฺฌตีติ, ตสฺส โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัสถาม อิติว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ท่านพระนาคเสน ปน ก็ ตฺวํ ท่าน พฺรูสิ กล่าว ยํ เอตํ ซึ่งคำใด อิติ ว่า  ปญฺญา ปัญญา กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน[7] นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว, ปน แต่ว่า  ยํ กิจฺจํ.กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป ดังนี้, ตฺวํ นิมนต์ท่าน กโรหิ กระทำ โอปมฺมํ ซึ่งอุปมา ตสฺส วจนสฺส สำหรับคำนั้น" ดังนี้.

 ‘‘ยถา, มหาราช, โย โกจิ ปุริโส รตฺตึ เลขํ เปเสตุกาโม เลขกํ ปกฺโกสาเปตฺวา ปทีปํ อาโรเปตฺวา เลขํ ลิขาเปยฺย, ลิขิเต ปน เลเข ปทีปํ วิชฺฌาเปยฺย, วิชฺฌาปิเตปิ ปทีเป เลขํ น วินสฺเสยฺยฯ เอวเมว โข, มหาราช, ปญฺญา สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วา ทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ น นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โย โกจิ ปุริโส บุรุษบางคน เปเสตุกาโม ประสงค์จะส่ง เลขํ จดหมายไป รตฺตึ ในยามค่ำคืน ปกฺโกสาเปตฺวา จึงให้ไปเรียก เลขกํ นักเขียนหนังสือมา ปทีปํ อาโรเปตฺวา แล้วจุดประทีปไว้ ลิขาเปยฺย ให้เขาเขียนหนังสือ, ลิขิเต เลเข เมื่อหนังสือเขียนเสร็จแล้ววิชฺฌาเปยฺย พึงดับ ปทีปํ ซึ่งประทีปเสีย, ปทีเป ถึงประทีป วิชฺฌาปิเตปิ จะถูกดับแล้วก็ตาม เลขํ ตัวหนังสือ น วินสฺเสยฺย จะพึงหายไป ก็หามิได้ ยถา ฉันใด, ปญฺญาปิ โข แม้ ปัญญาแล กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว,  ปน แต่ว่า  ยํ กิจฺจํ กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร  กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป,

‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ตฺวํ นิมนต์ท่าน กโรหิ กระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย โดยยิ่ง

‘‘ยถา, มหาราช, ปุรตฺถิเมสุ ชนปเทสุ มนุสฺสา อนุฆรํ ปญฺจ ปญฺจ อุทกฆฏกานิ ฐเปนฺติ อาลิมฺปนํ วิชฺฌาเปตุํ, ฆเร ปทิตฺเต  ตานิ ปญฺจ อุทกฆฏกานิ ฆรสฺสูปริ ขิปนฺติ, ตโต อคฺคิ วิชฺฌายติ, กึ นุ โข, มหาราช, เตสํ มนุสฺสานํ เอวํ โหติ ปุน เตหิ ฆเฏหิ ฆฏกิจฺจํ กริสฺสามา’’’ติ?
เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร   มนุสฺสา มนุษย์ ปุรตฺถิเมสุ ชนปเทสุ ในชนบทที่อยู่ในทิศเหนือ ฐเปนฺติ วาง อุทกฆฏกานิ หม้อน้ำไว้ อนุฆรํ ทุกบ้าน ปญฺจ ปญฺจ บ้านละ ๕ หม้อ วิชฺฌาเปตุํ สำหรับดับ อาลิมฺปนํ ซึ่งเรือนที่ถูกไฟไหม้, ฆเร เมื่อเรือน ปทิตฺเต ถูกไฟไหม้, ขิปนฺติ ย่อมขว้างขึ้นไป ตานิ ปญฺจ อุทกฆฏกานิ ซึ่งหม้อน้ำ ๕ เหล่านั้น อุปริ บน ฆรสฺส (หลังคา)เรือน, ตโต  เพราะเหตุนั้น อคฺคิ ไฟ วิชฺฌายติ ย่อมดับ,  มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร จินฺตนํ ความคิด เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า มยํ พวกเรา เตหิ ฆเฏหิ ใช้หม้อพวกนี้ กริสฺสาม จักกระทำ ฆฏกิจฺจํ ซึ่งกิจอันควรทำด้วยหม้อ[8] ปุน อีก” ดังนี้ โหติ จะมี เตสํ มนุสฺสานํ แก่พวกมนุษย์เหล่านั้น กึ นุ โข หรือไรเล่า?

‘‘น หิ, ภนฺเต, อลํ เตหิ ฆเฏหิ, กึ เตหิ ฆเฏหี’’ติ?
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า  เอตํ จินฺตนํ ความคิดนั้น น โหติ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า, อลํ ไม่ต้อง เตหิ ฆเฏหิ ใช้หม้อเหล่านี้แล้ว, กึ ปโยชนํ ประโยชน์อะไร เตหิ ด้วยหม้อเหล่านี้.

‘‘ยถา, มหาราช, ปญฺจ อุทกฆฏกานิ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริยานิ ทฏฺฐพฺพานิ สทฺธินฺทฺริยํ  วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ ยถา เต มนุสฺสา, เอวํ โยคาวจโร ทฏฺฐพฺโพฯ ยถา อคฺคิ, เอวํ กิเลสา ทฏฺฐพฺพาฯ ยถา ปญฺจหิ อุทกฆฏเกหิ อคฺคิ วิชฺฌาปียติ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริเยหิ กิเลสา วิชฺฌาปิยนฺติ, วิชฺฌาปิตาปิ กิเลสา น ปุน สมฺภวนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ปญฺญา สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วา ทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ น นิรุชฺฌตี’’ติฯ
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร อุทกฆฏกานิ หม้อน้ำ ปญฺจ ห้า โหนฺติ เป็น ยถา ฉันใด ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕  สทฺธินฺทริยํ  วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ   คือ  สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์   สตินทรีย์   สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ทฎฺฐพฺพานิ  พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น. เต มนุสฺสา มนุษย์เหล่านั้น โหนฺติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, โยคาวจโร พระโยคาวจร ทฏฺฐพฺโพ พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น, อคฺคิ ไฟ โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย ทฏฺฐพฺพา พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น, อคฺคิ ไฟ ปญฺจหิ อุทกฆฏเกหิ ถูกหม้อน้ำ ๕  วิชฺฌาปียติ ย่อมให้ดับไป ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย ปญฺจินฺทฺริเยหิ ถูกอินทรีย์ห้า วิชฺฌาปิยนฺติ ให้ดับไปอยู่ เอวํ ฉันนั้น, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย วิชฺฌาปิตาปิ แม้ที่ถูกทำให้ดับไปแล้ว น สมฺภวนฺติ ย่อมไม่เกิด ปุน อีก.
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺญาปิ โข แม้ ปัญญาแล กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว, ปน แต่ว่า  ยํ กิจฺจํ กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป  เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน กโรหิ นิมนต์กระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย โดยยิ่ง.

‘‘ยถา, มหาราช, เวชฺโช ปญฺจมูลเภสชฺชานิ คเหตฺวา คิลานกํ อุปสงฺกมิตฺวา ตานิ ปญฺจมูลเภสชฺชานิ ปิสิตฺวา คิลานกํ ปาเยยฺย, เตหิ จ โทสา นิทฺธเมยฺยุํ, กึ นุ โข, มหาราช, ตสฺส เวชฺชสฺส เอวํ โหติ ปุน เตหิ ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ เภสชฺชกิจฺจํ กริสฺสามี’’’ติ?
เถโร พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร เวชฺโช นายแพทย์ คเหตฺวา ถือ ปญฺจมูลเภสชฺชานิ เครื่องยาที่ทำจากรากไม้ ๕ ชนิด อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปหา คิลานกํ ผู้ป่วย ปิสิตฺวา บด ตานิ ปญฺจมูลเภสชฺชานิ เครื่องยาที่ทำจากรากไม้ ๕ ชนิดนั้นแล้ว (ละลายน้ำแล้ว) คิลานกํ พึงให้ผู้ป่วย ปาเยยฺย ดื่มยา, โทสา โรค นิทฺธเมยฺยุํ พึงหายไป เตหิ เพราะยาเหล่านั้น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร จินฺตนํ ความคิด เอวํ อย่างนี้ อิติ ว่า อหํ เรา เตหิ ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ ใช้เครื่องยาที่ทำจากรากไม้ ๕ ชนิด กริสฺสามิ จักกระทำ เภสชฺชกิจฺจํ กิจที่ควรทำด้วยยา[9] ปุน อีกด้วยหรือ?

‘‘น หิ, ภนฺเต, อลํ เตหิ ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ, กึ เตหิ ปญฺจมูลเภสชฺเชหี’’ติ?
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า หิ ก็ เอวํ จินฺตนํ ความคิดเช่นนั้น เวชฺชสฺส ของหมอนั้น น โหติ ไม่มีหรอก ภนฺเต พระคุณเจ้า, อลํ ไม่ต้อง เตหิ ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ ใช้เครื่องยาที่เป็นรากไม้ ๕ ชนิดแล้ว, กึ ปโยชนํ ประโยชน์อะไร เตหิ ด้วยเครื่องยาที่เป็นรากไม้ ๕.

 ‘‘ยถา, มหาราช, ปญฺจมูลเภสชฺชานิ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริยานิ ทฏฺฐพฺพานิ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ, ยถา เวชฺโช, เอวํ โยคาวจโร ทฏฺฐพฺโพฯ ยถา พฺยาธิ, เอวํ กิเลสา ทฏฺฐพฺพาฯ ยถา พฺยาธิโต ปุริโส, เอวํ ปุถุชฺชโน ทฏฺฐพฺโพฯ ยถา ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ คิลานสฺส โทสา นิทฺธนฺตา, โทเส นิทฺธนฺเต คิลาโน อโรโค โหติ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริเยหิ กิเลสา นิทฺธมียนฺติ, นิทฺธมิตา จ กิเลสา น ปุน สมฺภวนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ปญฺญา สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํ อนิจฺจนฺติ วาทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ น นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺจมูลเภสชฺชานิ เครื่องยาที่ทำจากรากไม้ ๕ ชนิด  โหนฺติ ย่อมเป็น  ยถา   ฉันใด ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕  สทฺธินฺทริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ   คือ  สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์   สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์  ทฎฺฐพฺพานิ  พึงเห็น  เอวํ   ฉันนั้น.
เวชฺโช นายแพทย์ โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, โยคาวจโร พระโยคาวจร ทฏฺฐพฺโพ พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น,
พยาธิ โรค โหติ    ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย ทฏฺฐพฺพา   พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น,
ปุริโส บุรุษ พยาธิโต ผู้ป่วยไข้ โหติย่อมเป็น ยถา ฉันใด, ปุถุชฺชโน ปุถุชน ทฏฺฐพฺโพ พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น,
โทสา โรค คิลานสฺส ของผู้ป่วยไข้ นิทฺธนฺตา หายไป ปญฺจมูลเภสชฺเชหิ เพราะเครื่องยาที่ทำจากรากไม้ ๕ ชนิด, โทเส เมื่อโรค นิทฺธนฺเต หายไป, คิลาโน บุรุษผู้ป่วยไข้ อโรโค เป็นผู้หายป่วย โหติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย โยคาวจเรน ถูกพระโยคาวจร  ปญฺจินฺทฺริเยหิ ใช้อินทรีย์ห้า นิทฺธมียนฺติ ทำให้หายไป. อนึ่ง กิเลสา กิเลส ที่ถูกพระโยคาวจรใช้อินทรีย์ห้า นิทฺธมิตา ทำให้หายไปแล้ว น สมฺภวนฺติ ย่อมไม่เกิด ปุน อีก เอวํ ฉันนั้น.
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺญาปิ โข แม้ ปัญญาแล กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว, ปน แต่ว่า ยํ กิจฺจํ กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป  เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

‘‘ภิยฺโย โอปมฺมํ กโรหี’’ติฯ
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ตฺวํ ท่าน กโรหิ นิมนต์กระทำ โอปมฺมํ ซึ่งการอุปมา ภิยฺโย โดยยิ่ง.

‘‘ยถา, มหาราช, สงฺคามาวจโร โยโธ ปญฺจ กณฺฑานิ คเหตฺวา สงฺคามํ โอตเรยฺย ปรเสนํ วิเชตุํ, โส สงฺคามคโต ตานิ ปญฺจ  กณฺฑานิ ขิเปยฺย, เตหิ จ ปรเสนา ภิชฺเชยฺย, กึ นุ โข, มหาราช, ตสฺส สงฺคามาวจรสฺส โยธสฺส เอวํ โหติ ปุน เตหิ กณฺเฑหิ กณฺฑกิจฺจํ กริสฺสามี’’’ติ?
เถโร พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร โยโธ ทหาร สงฺคามาวจโร ผู้หยั่งลงสู่สงคราม คเหตฺวา ถือ กณฺฑานิ ลูกธนู ปญฺจโอตเรยฺย พึงหยั่งลง สงฺคามํ สู่สงคราม  วิเชตุํ หมายจะเอาชนะ ปรเสนํ ซึ่งข้าศึก (เสนาฝ่ายอื่น), โส ทหารนั้น สงฺคามคโต ผู้ไปในสงคราม ขิเปยฺย พึงยิง กณฺฑานิ ลูกธนู ปญฺจตานิ เหล่านั้น, ปรเสนา ศัตรู ภิชฺเชยฺย พึงแตกพ่าย เตหิ เพราะลูกศรเหล่านั้น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร จินฺตนํ ความคิด เอวํ อย่างนี้ อิติ  ว่า อหํ เรา เตหิ กณฺเฑหิ ใช้ลูกธนูนี้ กริสฺสามิ จักกระทำ กณฺฑกิจฺจํ กิจที่จะควรทำด้วยลูกธนู[10] ปุน อีก ดังนี้ โหติ ย่อมมี ตสฺส สงฺคามาวจรสฺส แก่ทหารผู้หยั่งลงสู่สงครามนั้น กึ นุ โข หรือไรเล่า?

‘‘น หิ, ภนฺเต, อลํ เตหิ กณฺเฑหิ, กึ เตหิ กณฺเฑหี’’ติ?
ราชา พระราชา อาห ตรัส อิติ ว่า ภนฺเต พระคุณเจ้า หิ ก็ เอตํ จินฺตนํ ความคิดนั้น น โหติ หาได้มีไม่, อลํ ไม่ต้อง เตหิ กณฺเฑหิ ใช้ธนูเหล่านั้นอีกแล้ว, กึ ปโยชนํ ประโยชน์ใดเล่า  เตหิ กณฺเฑหิ ด้วยธนูเหล่านั้น ดังนี้.

‘‘ยถา, มหาราช, ปญฺจ กณฺฑานิ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริยานิ ทฏฺฐพฺพานิ สทฺธินฺทฺริยํ วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ. ยถา, มหาราช, สงฺคามาวจโร โยโธ, เอวํ โยคาวจโร ทฏฺฐพฺโพฯ ยถา ปรเสนา, เอวํ กิเลสา ทฏฺฐพฺพาฯ ยถา ปญฺจหิ กณฺเฑหิ ปรเสนา ภิชฺชติ, เอวํ ปญฺจินฺทฺริเยหิ กิเลสา ภิชฺชนฺติ, ภคฺคา จ กิเลสา น ปุน สมฺภวนฺติฯ เอวเมว โข, มหาราช, ปญฺญา สกิจฺจยํ กตฺวา ตตฺเถว   นิรุชฺฌติ, ยํ ปน ตาย ปญฺญาย กตํอนิจฺจนฺติ วา ทุกฺขนฺติ วา อนตฺตาติ วา, ตํ  น  นิรุชฺฌตี’’ติฯ
เถโร อ.พระเถระ อาห กล่าว อิติ ว่า มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺจ กณฺฑานิ ธนู ๕ ดอกเหล่านั้น  โหนฺติ เป็น  ยถา ฉันใด  ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕  สทฺธินฺทริยํ  วีริยินฺทฺริยํ สตินฺทฺริยํ สมาธินฺทฺริยํ ปญฺญินฺทฺริยํ   คือ  สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์  สตินทรีย์ สมาธินทรีย์  ปัญญินทรีย์   ทฎฺฐพฺพานิ  พึงเห็น  เอวํ   ฉันนั้น.
มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร สงฺคามวจโร โยโธ  ทหาร ผู้อยู่ในสงคราม โหติ เป็น ยถา ฉันใด, โยคาวจโร พระโยคาวจร ทฏฺฐพฺโพ พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น,
ปรเสนา ข้าศึก โหนฺติ ย่อมเป็น ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย  ทฏฺฐพฺพา พึงเห็น เอวํ ฉันนั้น,
ปรเสนา ข้าศึก ภิชฺชติ ย่อมแตกพ่ายไป ปญฺจหิ กณฺเฑหิ เพราะธนู ๕ ดอก ยถา ฉันใด, กิเลสา กิเลสทั้งหลาย ภิชฺชนฺติ ย่อมแตกทำลายไป ปญฺจินฺทฺริเยหิ เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านั้น, และ กิเลสา กิเลสทั้งหลาย ภคฺคา ที่พังทะลายเสียแล้ว   น สมฺภวนฺติ ย่อมไม่เกิด ปุน อีก เอวํ ฉันนั้น, มหาราช ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปญฺญาปิ โข แม้ ปัญญาแล กตฺวา ครั้นได้ทำ สกิจฺจยํ ซึ่งกิจของตน นิรุชฺฌติ ย่อมดับไป ตตฺถ เอว ในที่ที่ตนเกิดนั่นเทียว, ปน แต่ว่า  ยํ กิจฺจํ อ.กิจใด โยคาวจเรน อันพระโยคาวจร กตํ ทำแล้ว ตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญานั้น อนิจฺจํ อิติ วา ว่า ไม่เที่ยง ดังนี้ บ้าง, ทุกฺขํ อิติ วา ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้บ้าง, อนตฺตา อิติ วา ว่า เป็นอนัตตา ดังนี้บ้าง, ตํ กิจฺจํ อ.กิจนั้น น นิรุชฺฌติ ย่อมไม่ดับไป   เอวํ เอว โข ฉันนั้นนั่นเทียวแล ดังนี้.

‘‘กลฺโลสิ, ภนฺเต นาคเสนา’’ติฯ
ราชา พระราชา อโวจ ตรัส อิติ ว่า ภนฺเต นาคเสน พระคุณเจ้านาคเสน, ตฺวํ ท่าน อสิ เป็นผู้ กลฺโล สามารถแก้ปัญหา.

ญาณปญฺญาปญฺโห ตติโยฯ
ญาณปญฺญาปญฺโห ปัญหาเกี่ยวกับญาณและปัญญา ตติโยที่  ๓  นิฏฺฐิโต จบ

v




[1] คือ พระโยคาวจรผู้ที่มีญาณคือวิปัสสนาญาณ หรือมีมัคคญาณอันมีวิปัสสนาญาณนั้นเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้ว.
[2] พระราชาทรงสำคัญว่า คำว่า ญาณ และ ปัญญา ต่างกัน จึงตั้งปัญหานี้ขึ้น. ความจริงแล้ว ญาณและปัญญา เป็นธรรมชาติอันเดียวกัน มีความหมายว่า ธรรมชาติที่เรียกว่า ปัญญา ได้แก่ รู้โดยประการต่างๆ เป็นต้นว่า ไม่เที่ยง. ส่วนญาณ ได้แก่  ธรรมชาติที่รู้ในสิ่งที่ควรรู้.
[3] พระโยคาวจรผู้มีญาณหรือปัญญานั้น พึงหลง คือ ไม่รู้
คำว่า ในศิลปวิทยาที่ไม่ได้รู้แล้วในกาลก่อน ได้แก่ ในศิลปวิทยาทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะเป็นงานศิลปะทางโลกก็ตาม จะเป็นงานศิลปะตามธรรมวินัยก็ตาม เพราะไม่เคยทำการสั่งสมความรู้ไว้ โดยเกี่ยวกับการเรียนและการสอบถามทำนองอย่างนี้ว่า “อะไรหนอ, อย่างไรหนอ, อย่างนี้หรือหนอ, ไม่ใช่อย่างนี้หรือหนอ” เป็นต้น ในวิชาศิลปะเหล่านั้น.
คำว่า ในทิศไม่ได้ไปแล้วในกาลก่อน  ได้แก่ ในทิศที่ไม่เคยไป ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลก็ตาม เพราะไม่เคยไปยังท้องถิ่นเป็นที่เที่ยวไป เนื่องด้วยการมีความรู้ในต่างถิ่น ก็จะหลงอย่างนี้ว่า อะไรหนอ ดังนี้เป็นต้น
คำว่า ในชื่อหรือบัญญัติที่ไม่ได้ยินแล้วในกาลก่อน ได้แก่ ผู้มีญาณหรือปัญญานั้น ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ตาม เป็นพระเสกขะก็ตามหรือแม้เป็นพระอรหันต์ก็ตาม ก็ยังอาจหลงคือยังไม่รู้ในชื่อ บัญญัติ สมัญญา โวหาร ภาษา คำเรียกขาน ที่ไม่เคยได้ยิน คือ ไม่เคยเงี่ยโสตสดับมาก่อนอย่างนี้ว่า ชื่อว่า กระไร เรียกว่า กระไร, กล่าวขานว่าอย่างไร, อย่างนี้หรือหนอ ไม่ใช่อย่างนี้หรือหนอเป็นต้น.
[4] ปหานกิจอันใดที่พระโยคาวจรทำแล้วด้วยปัญญาอันเกิดขึ้นแล้วโดยเกี่ยวกับเป็นวิปัสสนา ก็ดี ด้วยมรรคอันมีวิปัสสนาเป็นเหตุ ก็ดี ว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, พระโยคาวจร ก็จะไม่พึงหลงในปหานกิจนั้น ว่า กิเลสที่ควรประหานนี้ ไม่เกิดแล้วในเรา. ก็ความรู้นั้น ชื่อว่า เป็นกิจของปัญญา. กิจนั้นย่อมเป็นไปโดยประการ ๒ คือ ทำลักษณะให้ปรากฏตามความเป็นจริง ๑ ละความหลงที่ปิดบังลักษณะเหล่านั้น ๑ ด้วยว่า ในปัญหานี้ พระเถระกล่าวหมายเอาวิปัสสนาปัญญาเป็นสำคัญ (ถ้าเป็นมรรคปัญญา ก็ย่อมทำกิจ ๔ อย่าง ในบรรดิจแห่งอริยสัจ ๔ มีการกำหนดทุกข์เป็นต้น).
[5] ในพระโยคาวจรนั่นเองซึ่งเป็นที่ๆ ให้ปัญญาเกิดนั้นนั่นแหละ.  อุปมานี้ เปรียบเหมือนประทีปที่จุดในเรือนมืด ประทีปย่อมทำความสว่างให้ปรากฏ ผู้มีตาดีจึงมองเห็นรูปทั้งหลายได้ ทั้งย่อมกำจัดความมืดให้สิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใด, เมื่อเพียงแต่ญาณหรือปัญญาเกิดขึ้นเท่านั้น ญาณหรือปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมทำลักษณะมีอนิจจลักษณะ เป็นต้น ให้ปรากฏ ผู้มีปัญญาจึงเห็น จึงรู้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยงเป็นต้น ทั้งย่อมกำจัดความหลงให้สิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[6] คำว่า กิจที่ทำด้วยปัญญานั้น หาได้ดับไปนั้น หมายความว่า กิจ ๒ อย่างดังกล่าวแล้ว เพราะเหตุว่า ถ้าหากกิจที่ทำไว้แล้วนั้น ก็ดับไปเช่นเดียวกับปัญญานั้นนั่นแหละแล้วไซร้, ลักษณะที่ปรากฏแล้ว ก็จะหวนกลับมาไม่ปรากฏ คือ ถูกปกปิดไว้อย่างเดิมอีก ความหลงก็จะหวนกลับมาอีก พระโยคาวจร ก็จะกลับมาเป็นคนที่ไม่รู้จักว่า สิ่งนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนก่อนหน้านี้อีก แต่เพราะมิได้วิปริตกลับกลอกอย่างนี้ กิจที่ปัญญาได้ทำแล้วนั้น จึงชื่อว่า ไม่ดับไป.
[7] สกิจฺจยํ กิจของตน คัมภีร์อรรถกถามิลินทปัญหา แยกบทเป็น ส = อตฺตโน + กิจฺจ + อี โดยมีรูปวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้ กิจฺจํ อสฺส อตฺถีติ กิจฺจยํ, กิจของธรรมชาตินี้มีอยู่ เหตุนั้น ธรรมชาตินี้ ชื่อว่า มีกิจ (กิจฺจี แปลง อี เป็น เอ = กิจฺเจ, แปลง เอ เป็น อย = กิจฺจย) อตฺตโน กิจฺจยํ สกิจฺจยํ กิจของตน ชื่อว่า สกิจฺจย.
[8] กริสฺสาม จักกระทำ ฆฏกิจฺจํ ซึ่งกิจอันควรทำด้วยหม้อ แปลโดยโวหารว่า “จักดับไฟ”
[9]กริสฺสามิ จักกระทำ เภสชฺชกิจฺจํ กิจที่ควรทำด้วยยา แปลโดยโวหารว่า “จักรักษาผู้ป่วย”
[10] กริสฺสามิ จักกระทำ กณฺฑกิจฺจํ กิจที่จะควรทำด้วยลูกธนู แปลโดยโวหารว่า “จักยิงข้าศึก”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น