วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อชฺช ; (๑) ในวันนี้, (๒) วันนี้

อชฺช แปลว่า วันนี้ หรือ ในวันนี้ ดี

*****

ปกติแล้ว อชฺช ท่านจัดเป็นศัพท์ประเภทกาลสัตตมี เพราะลงปัจจัยที่มีอรรถของสัตตมีวิภัตติ. แปลว่า ในกาลนี้ โดยเจาะจงถึงความหมายว่า ในวันนี้ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ไวยากรณ์หลายแห่ง อาทิ


๑) คัมภีร์ปทรูปสิทธิ กล่าวถึงศัพท์นี้ไว้โดยเป็นศัพท์ที่ลง ชฺช ปัจจัยในอัพยยตัทธิต ท้าย อิม ศัพท์ในความหมายว่า ในกาลนี้, ในวันนี้ และมีการแปลง อิม เป็น อ ด้วยสูตรใหญ่ คือ ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติฯ (ศัพท์ที่ยังไม่สำเร็จรูปด้วยสูตรใดๆ ให้สำเร็จรูปด้วยนิปาตนสูตรนี้) ว่า

                      อิมสฺมา ชฺช สิยา กาเล,          สมานาปรโต ชฺชุ จ;
                      อิมสทฺทสฺส’กาโร จ,              สมานสฺส จ โส สิยาฯ

     อิมสฺมิํ กาเล, อิมสฺมิํ ทิวเส วา อชฺช, สมาเน กาเล สชฺชุ, อปรสฺมิํทิวเส อปรชฺชุฯ

ลง ชฺช ปัจจัยท้าย อิม ศัพท์ในกาลเวลา ... แปลง อิมศัพท์ เป็น อ
ฯลฯ
(ปทรูปสิทธิปกรณ์ / คำอธิบายการใช้สูตร ๔๒๓. ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติฯ)

๒) คัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา กล่าวถึงศัพท์นี้โดยนัยเดียวกัน และวางสูตรสำเร็จรูปไว้ด้วย ดังนี้

๑๑๖๗อิมสมานาปเรหิ ชฺชชฺชุ.
ลง ชฺช และ ชฺชุ ปัจจัยท้าย อิม สมาน และ อปร ศัพท์.

ตัวอย่างเช่น
อิมสฺมึ กาเล อชฺช ในกาลนี้ ชื่อว่า อชฺช

ฯลฯ

๑๑๖๘. อิมสฺสตฺตํ ชฺชมฺหิ.
ในเพราะ ชฺช ปัจจัยอยู่หลัง แปลง อิม ศัพท์ เป็น อ.  

ตัวอย่างเช่น อชฺช ในวันนี้


๓) คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ (ณาทิกัณฑ์) กล่าวถึงศัพท์นี้โดยเจาะจงให้มีอรรถว่า ในวันนี้ เท่านั้น 

๑๐๗. อชฺช สชฺชฺวปรชฺชฺเวตรหิ กรหาฯ
เอเตสทฺทา นิปจฺจนฺเตฯ ปกติปฺปจฺจโย อาเทโส กาลวิเสโสติ สพฺพเมตํ นิปาตนา ลพฺภติ, อิมสฺส โฏ ชฺโช ชาหนิ นิปจฺจเต, อสฺมิํ อหนิ อชฺชฯ

๑๐๗ อชฺช สชฺชุ อปรชฺชุ เอตรหิ กรห ศัพท์ ท. ย่อมสำเร็จด้วยนิปาตนะนี้ (สำเร็จได้โดยตัวเอง) 

วิธีการทั้งหมดนี้ คือ การลงปัจจัยท้ายปกติ (ลิงค์และธาตุ)  อาเทส และจัดเป็นคำศัพท์ชนิดที่แสดงกาล  ย่อมสำเร็จรูปด้วยนิปาตนะ.  

เช่น แปลง อิม เป็น อ, ลง ชฺช ปัจจัย ท้าย อ (ที่แปลงจาก อิม) สำเร็จในความหมายว่า ในวัน. อสฺมิํ อหนิ อชฺช ในวันนี้ ชื่อว่า อชฺช.



 ๔) คัมภีร์นิรุตติทีปนี กล่าวถึงศัพท์นี้อย่างตรงไปตรงมาว่า ลงในอรรถกาลสัตตมี โดยความหมายว่า ในวันนี้

๒๘๗. อชฺชสชฺชุปรชฺเชตรหิกรหา [ก. ๒๕๙; รู. ๒๗๙, ๔๒๓; นี. ๕๐๗]
เอเตปิ กาเล ชฺช, ชฺชุ, รหิ, รห ปจฺจยนฺตา สิชฺฌนฺติฯ
อิมสฺมิํ กาเล อชฺช, อิมสฺมิํ ทิวเสตฺยตฺโถฯ
ศัพท์ที่ลงปัจจัยเหล่านี้ คือ ชฺช ชฺชุ รหิ รห ให้ใช้ในอรรถว่า กาล. ตัวอย่างเช่น อชฺช มาจาก อิมสฺมิํ กาเล ในกาลนี้ ความหมายคือ ในวันนั้น.



----- 

นอกจากจะเป็นศัพท์ลงอัพยยตัทธิต ดังกล่าวมาแล้ว เหตุที่มีรูปเดียวไม่มีการแจกวิภัตติ แม้ว่าจะมีอรรถของสัตตมีวิภัตติ ท่านจึงจัดศัพท์นี้ไว้เป็น นิบาต ดังนี้

คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๑๑๕๕. 

 สายํ สาเย’ชฺช อตฺรา’เห สุเว ตุ เสฺว อนาคเต
ตโต ปเร ปรสุเว หิยฺโย ตุ ทิวเส คเต.
๑๑๕๕. สายํ สายํนิบาต (สิยา) ย่อมเป็นไป สาเย ในเวลาเย็น
อชฺช อชฺชนิบาต (สิยา) ย่อมเป็นไป อตฺราเห ในวันนี้

สุเว สุเวนิบาต เสฺว เสฺวนิบาต (สิยา) ย่อมเป็นไป อนาคเต ในวันพรุ่งนี้
ปรสุเว ปรสุเวนิบาต (สิยา) ย่อมเป็นไป ตโต ปเร ในวันมะรืน
หิยฺโย หิยฺโยนิบาต (สิยา) ย่อมเป็นไป คเต ทิวเส ในวันอัน ล่วงไปแล้ว

และในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ก็เช่นกัน จัดเข้าในกลุ่มนิบาตมีอรรถกาลสัตตมี

สมฺปติ อายติ อชฺช อปรชฺชุ ปรชฺช สุเว สฺเว ปรสุเว หิยฺโย ปเร สชฺชุ สายํ ปาโต กาลํ กลฺลํ ทิวา นตฺตํ นิจฺจํ สตตํ อภิณฺหํ อภิกฺขณํ มุหุํ มุหุตฺตํ ภูตปุพฺพํ ปุรา ยทา ตทา กทา อิจฺจาทโย กาลสตฺตมิยาฯ


*****

เมื่อว่าตามหลักไวยากรณ์ตามที่ได้แสดงมา อชฺช ก็ควรใช้ในอรรถกาลสัตตมี คือ ลง สัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในวันนี้.. 

อย่างไรก็ตาม ในพระบาฬี และอรรถกถาเป็นต้น กลับมีตัวอย่างการใช้ที่น่าสนเทห์ โดยทำให้คิดว่า ไม่น่าจะเป็น กาลสัตตมี อย่างเดียว เช่น

พระบาฬีสุตตนิบาต เหมวตสูตร  มีข้อความว่า
๑๕๓. ‘‘อชฺช ปนฺนรโส อุโปสโถ,

ก่อนจะแปลความหมาย ดูนัยที่พระอรรถกถาจารย์อธิบายศัพท์นี้ไว้ก่อน ท่านกล่าวไว้ว่า

๑๕๓. ตตฺถ อชฺชาติ อยํ รตฺตินฺทิโว ปกฺขคณนโต ปนฺนรโส,
ในพระบาฬีนั้น บทว่า อชฺช แปลว่า อยํ รตฺตินฺทิโว คืนและวันนี้ ปณฺณรโส เป็นวันที่ ๑๕ ปกฺขคณนโต โดยการนับในกึ่งเดือน. 

ด้วยมติของอรรถกา แสดงว่า อชฺช นอกจากจะใช้ในความหมายสัตตมีวิภัตติ สามารถใช้ในความหมายของปฐมาวิภัตติได้ด้วย ดังนั้น พระบาฬีนี้ จึงแปลว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ที่ ๑๕ , ไม่แปลว่า อุโบสถ ที่ ๑๕ ย่อมมี ในวันนี้. 

นอกจากนี้ คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา กล่าวถึงการใช้ อชฺช ในลักษณะนี้มากมายหลายแห่ง จะขอยกมาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น 

"อชฺช โน อยฺยานํ อาคมนทิวโส"
วันนี้เป็นวันที่พระคุณเจ้าของพวกเรามา

ด้วยเหตุนี้ หลักสัมพันธ์ ท่านจึงสัมพันธ์ศัพท์ว่า อชฺช ในลักษณะนี้ว่า "สัตตมีปัจจัตตะ"

-----

สัตตมีปัจจัตตะ คือ รูปเป็นสัตตมี แต่ความหมายเป็นปฐมา

หลักไวยากรณ์และหลักการใช้จะไม่ขัดแย้งกัน พึงทราบว่า หลักการมีข้อยกเว้น กรณีนี้ แม้ในคัมภีร์ไวยากรณ์ มิได้กล่าวถึงการใช้สัตตมีวิภัตติในอรรถปฐมาวิภัตติไว้เลย ก็จริง, แต่กระนั้น ท่านถือว่า การใช้สัตตมีวิภัตติในอรรถปฐมาวิภัตติ เป็นการใช้ในภาษามคธเก่า (อสุทธมาคธี)  ที่เป็นภาษามคธดั้งเดิม ก่อนที่จะได้รับการปรับปรุงเป็นภาษาบาฬี ดังในปัจจุบันนี้.

การใช้สัตตมีวิภัตติ ในอรรถปฐมาวิภัตตินี้ เรียกว่า สัตตมีปัจจัตตะ. หนังสือวากยสัมพันธ์ เล่ม ๒ และหนังสืออธิบายวากยสัมพันธ์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า


วิภัตติเก่า (สัตตมีปัจจัตตะ)

(๓) มีวิภัตติเก่า คือ รูปเหมือนสัตตมีวิภัตติ ใช้ในปฐมาวิภัตติ เรียกในภาษาไทยว่า สัตตมีปัจจัตตะ. สัตตมีปัจจัตตะนี้มีในสำนวนเก่าบางแห่ง, มีเฉพาะบทประธานบ้าง มีตลอดถึงบทอื่นเช่นบทวิเสสนะ กิริยาที่แจกด้วยวิภัตตินามบ้าง, เป็นสัตตมีปัจจัตตะทั้งท่อนก็มี.


ตัวอย่างในบาลีสุตตันตปิฎกหลายแห่ง เช่น ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวัคค์ ตอนโสตาปัตติวัคค์ที่ ๑ ใน ทิฏฺิสยุตฺต ว่า

าเล จ ปณฺฑิเต  จ สนฺธาวิตฺวา สสริตฺวา ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสนฺติ.
(อรรถกถาแก้เป็น พาโล จ ปณฺฑิโต จ )

 และ สฬายตนวัคคตอนโลกกามคุณวัคคที่ ๒ ว่า

ตสฺมาติห ภิกฺขเว เส อายตเน เวทิตฺพฺเพ
(อรรถกถาแก้เป็น ต การณ ชานิตพฺพ).

ในทางสัมพันธ์สอนให้เรียกชื่อบทเช่นนี้ เฉพาะที่เป็นบทประธานว่า สัตตมีปัจจัตตะ.


****

แม้ในพระบาฬีอื่นๆ ก็ยังมีอีก ท่านทั้งหลายควรติดตามอ่านในหนังสือนั้น ในที่นี้กล่าวมาพอสมควรแก่การประดับความรู้เกียวกับเรื่องนี้เท่านั้น


****

ท่านทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเห็นคล้อยตามข้าพเจ้า เพราะเป็นเพียงข้าพเจ้ารวบรวมค้นหาหลักฐานและหลักการใช้ศัพท์นี้ เพื่อแก้ความสงสัยส่วนตัวเท่านั้น.

สมภพ สงวนพานิช





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น